เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

อำนาจ 108 กับเสรีภาพทางวิชาการ-เส้นแบ่งอยู่ที่ไหน

อภิปรายทางวิชาการ วันที่ 8 กันยายน 2553
สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มศว.ประสานมิตร

ผู้ร่วมอภิปราย มี รศ.ดร.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นางสุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายมงคล ศริวัฒน์ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. อรศรี งามวิทยาพงศ์ จากสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

รศ.ดร.ฉลอง กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยไทยใน 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้เกิดจากการตั้งประชาคม แต่เกิดจากการตอบสนองความต้องการของรัฐและผู้มีอำนาจรัฐ จากเดิมที่มหาวิทยาลัยผลิตข้าราชการเพื่อช่วยสร้างความเข้มแข็งของรัฐ แต่ปัจจุบันมุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ เน้นการทำวิจัย บีบบังคับให้ตกอยู่ภายใต้วิธีคิดที่คับแคบจากกลุ่มนายทุน ไม่สามารถให้นักวิชาการทำงานในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ เป็นอำนาจ 108 ที่ไม่รู้สึก กลายเป็นความชั่วร้ายเป็นเหตุเป็นผล ที่มุ่งความคุ้มค่ากับการลงทุน ตัวเงิน การใช้ประโยชน์ ที่เป็นตัวคุกคามทางวิชาการ ทำให้นักวิชาการใหม่ๆ ไม่สามารถแสดงความคิดอย่างเต็มที่อีกต่อไป

“นักวิชาการถือเป็นชนชั้นกลางที่ใช้สิทธิ์และเสียงในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมได้ เสรีภาพทางวิชาการ แม้จะมีหลักการ เป็นสิ่งที่ใครๆก็พูดถึงอย่างชื่นชม และมีคุณค่า แต่การดำรงอยู่ทางวิชาการ แท้จริงแล้วเป็นประเด็นอ่อนไหว และสามารถที่จะถูกกระทบ เปลี่ยนแปลงผ่านการตีความของผู้มีอำนาจในขณะนั้น ทั้งทางด้านวัฒนธรรม การบริหาร และเศรษฐกิจ”

ด้าน นางสุนีย์ กล่าวถึงเสรีภาพทางวิชาการ ถือเป็นเรื่องเดียวกันกับเสรีภาพของภาคประชาชน เป็นตัวถ่วงดุลหนึ่งที่สำคัญ เพื่อการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ การไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจของรัฐได้ ถือว่า เป็นเผด็จการ

“แม้ว่านักวิชาการจำนวนไม่น้อย ไปรับใช้กลุ่มบางกลุ่ม เราก็ควรเคารพ เพราะเป็นเสรีภาพ แต่หลักใหญ่นักวิชาการควรที่จะต้องมีธรรมาภิบาล และภาคประชาชนต้องเป็นเส้นแบ่งสำคัญที่สุดในการตรวจสอบ เพื่อเป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ช่วยเป็นอำนาจที่ต่อสู้การปกป้องอำนาจความคิดเห็นที่ต่างกัน”
ส่วน ดร.นฤมล กล่าวว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน มีการออกระเบียบเหมือนบริษัท เป็นตลาดสินค้าทางการศึกษา สร้างกรอบจำกัดของคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัย แม้อาจจะวิจารณ์รัฐบาลได้บ้าง แต่สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำ คือ การทำแบบของรัฐ ปิดปากคนในประชาคมมหาวิทยาลัยไม่ให้พูด ดังนั้น มหาวิทยาลัย จากที่ควรจะเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพทางวิชาการ ในอนาคตก็อาจไม่ต่างกับโรงเรียนฝึกอาชีพ เป็นแค่ที่ฝึกงานของนักศึกษาเท่านั้น

ขณะที่ นายมงคล กล่าวว่า แต่เดิมการที่นักวิชาการที่ออกมาแสดงความคิดเห็น เป็นผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยที่ตนสังกัด แต่มหาวิทยาลัยในยุคปัจจุบัน ทำให้นักวิชาการไม่เป็นเช่นนั้น การที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ได้ทำให้เกิดเผ่าพันธุ์ใหม่ คือ เผ่าพันธุ์การเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ถูกชักจูงง่ายด้วยทุน ต้องดิ้นรน ไม่ได้ผูกพันกับแผ่นดิน ส่งผลให้ความอิสระงานด้านวิชาการหมดไป เป็นนักวิชาการสัญญาจ้าง ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นเพียงนักเทคนิควิชาการ

“มหาวิทยาลัย เน้นการกระจายอำนาจ ให้อำนาจการบริหารมหาวิทยาลัยมาก แต่อำนาจทำให้คนเสียคน อยากมีอำนาจต่อ เกิดการเผด็จการอำนาจในมหาวิทยาลัย ยิ่งถ้าบังเอิญ ผู้บริหารไม่มีคุณธรรมด้วยแล้ว การตั้งหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ก็เป็นเหมือนเทคนิคในการตั้งสภา คณบดีจะมีเสียงเหมือนอธิการบดี ต้องใช้ระบบเดียวกัน ทุกอย่างในมหาวิทยาลัย จะเกิดอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่สามารถลบล้างความต้องการของมหาวิทยาลัย กำลังสร้างอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบไหน จะขยายอำนาจไปเรื่อย การวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งข้อหาทำผิดวินัยได้ ถูกไล่ออก แม้กระทั่งการเขียนบทความทางวิชาการ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา