เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ความมั่นคงของใคร?

   ความมั่นคง สามารถแบ่งออกมาได้เป็น ความมั่นคงของรัฐบาล ความมั่นคงของประเทศ รวมถึง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางวัฒนธรรม และที่จะลืมไม่ได้คือ ความมั่นคงของชีวิตประชาชนในชาติ

   เท่าที่ผ่านมา แม้รัฐบาลจะใช้คำพูดที่สวยหรูสักปานใด แต่การกระทำกลับเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลเน้นเฉพาะความมั่นคงของรัฐบาลเอง ทั้งนี้เพราะรัฐบาลลืมไปว่า ความมั่นคงของชนในชาติหมายถึงความมั่นคงของทุกสิ่งทุกอย่าง  หากว่าประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต ทรัพย์สิน และทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต ความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งหมดจะตามมา

   ความมั่นคงของประชาชนในที่นี้ หมายถึงว่า ประชาชนทุกคน จะต้องได้รับสิทธิ อันพึงมีพึงได้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยเท่าเทียมกัน

   ทั้งนี้ รัฐมีหน้าที่โดยตรง ที่ให้ประชาชนได้รับสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายนั้น ส่วนประชาชนต้องรับผิดชอบกับการใช้สิทธิเสรีภาพของตนเอง โดยไม่ไปก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น เมื่อประชาชนรู้สึกว่า สามารถดำรงชีวิตด้วยความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งทุกเรื่องในการดำเนินชีวิต สถานภาพของรัฐบาลก็จะมั่นคง รวมทั้งความมั่นคงของประเทศย่อมเสถียรตามไปด้วย

   วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2553 ผู้เขียนได้ไปฟังคำบรรยายของกลุ่มประกายไฟ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในหัวข้อ “กฎอัยการศึก – พ.ร.ก.ฉุกเฉิน – พ.ร.บ.ความั่นคง มีไว้เพื่อใคร?”

   ผู้บรรยายมีคุณสราวุธ ปทุมราช นักสิทธิมนุษยชน, คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด, คุณไลลา เจ๊ะซู บัณฑิตอาสาพัฒนาสังคม 3 จังหวัดภาคใต้

   คุณศราวุธ เกริ่นนำว่า ในลำดับของกฎหมายพิเศษ พ.ร.บ.ความมั่นคงนับว่าอ่อนสุด ต่อมาคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และร้ายแรงสุดคือ กฎอัยการศึก

   กฎอัยการศึก เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2457 เจตนารมณ์คือ จะประกาศใช้เมื่อประเทศอยู่ในภาวะศึกสงคราม และต้องเผชิญกับอริราชศัตรู แต่บัดนี้เจตนาดั้งเดิมกลับถูกเบี่ยงเบน โดยรัฐบาลนำกฎหมายนี้มาใช้กับประชาชน

   ในยามปกติ บ้านเมืองจะถูกบริหารด้วยอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่เมื่อนำเอากฎอัยการศึกมาบังคับใช้ ย่อมเท่ากับฝ่ายบริหารมอบอำนาจให้กับฝ่ายทหาร โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ทหารมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือพลเรือน ปฏิบัติการของทหารตรวจสอบไม่ได้ ฟัองร้องไม่ได้ การตรวจจับทำได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้หมายศาล

   รัฐบาลเริ่มใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน ด้วยเหตุผล ที่สามารถนำมากล่าวโดยย่อว่า
1. ต้องการคืน ชีวิตความเป็นปกติสุขให้กับคนกรุงเทพฯ
2. ระงับการบิดเบือนข่าวสารข้อมูล
3. ใช้กฎหมายดำเนินคดีต่อแกนนำ
4. ระงับเหตุการณ์ให้มีประสิทธิภาพ

   ทั้งนี้ ศ.อ.ฉ. เร่งชงเรื่องให้คณะรัฐมนตรี เหตุผลประการหนึ่งที่นำมาอ้างคือ อาวุธที่ถูก นปช. ยึดไปยังไม่ได้ส่งคืนให้เจ้าหน้าที่

   คุณศราวุธมีความเห็นว่า ความจริงแล้ว ในการรักษาความสงบของประเทศ การนำกฎหมายอาญามาบังคับใช้ก็น่าจะเพียงพอ แต่ขณะนี้ รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน

   การที่รัฐลุแก่อำนาจ นับว่าเป็นภัยของประชาชน เหตุการณ์ในช่วงวันที่ 10 เมษายน 2553 และ 14-19 พฤษภาคม 2553 ที่มีประชาชนถูกฆ่าตาย ถือว่าเป็นการวิสามัญฆาตกรรมในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐบาลต้องรับผิดชอบกับการนำเอารถถัง และพลที่มีอาวุธครบมือ อีกทั้งนักแม่นปืน sniper ที่คอยดักซุ่มยิงประชาชน ที่มีเพียงมือเปล่า และมาประท้วงเพื่อถามหาความยุติธรรม ภายในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การวิสามัญฆาตกรรมครั้งนี้ ต้องมีการไต่สวน และต้องมีผู้รับผิดชอบ

   ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 32 ระบุชัดเจนว่า “บุคคล ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาล หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม

   ตามความในวรรคนี้ การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

   การที่รัฐบาลพยายามสร้างสถานการณ์ โดยมีการวางระเบิดที่นั่นที่นี่ เพื่อหาความชอบในการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นับว่าเป็นึความไม่ซื่อต่อประชาชน ส่วนการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยที่ยังไม่มีเหตุฉุกเฉินที่แท้จริง ยิ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อตัว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ส่วนการที่ทหารออกมาทำร้ายประชาชน ทำให้บาดเจ็บล้มตายมากมายนั้น นับว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 อนึ่ง เป็นไปไม่ได้ที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีความสำคัญเหนือกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ

   สำหรับบุคคลที่ป่วนบ้านเมือง ด้วยการวางระเบิด หรือยิง อาร์พีจี ใส่ถังบรรจุน้ำมัน ก็ควรมีการสอบสวนจับกุม แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะทำให้ประชาชนรู้ว่า น้ำมันจำนวนมหาศาลถึง 70 ล้านลิตร มูลค่านับพันล้านบาท อัตรธานหายไป และการขาดแหล่งสำรองน้ำมันนี้ นับว่ากระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศโดยตรง

   ส่วนทหารที่ยิงประชาชนมือเปล่าโดยพละการ ยิ่งสมควรถูกไต่สวนและนำมาลงโทษ และสาวให้ถึงตัวการว่า ใครเป็นคนสั่งให้มาทำร้ายประชาชนมือเปล่า ที่ออกมาชุมนุมโดยสันติ ภายในกรอบของประชาธิปไตย

   เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและปลอดภัยของประชาชน คือความมั่นคงของชาติ ดังนั้นชีวิตของประชาชนจึงมีค่าที่สุด และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำทหารที่เป็นผู้สังหารประชาชน 91 ศพ รวมทั้งคนที่สั่งการ มาลงโทษให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา