เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลุกฮือในโลกคู่ขนาน

ประชาธิปไตยในสังคมออนไลน์

โดย บุญชิต ฟักมี
ที่มา : มติชนออนไลน์
สำหรับวงการสังคมออนไลน์ไทย พันทิป ดอต คอม เป็นตัวละครสำคัญที่ยากจะปฏิเสธ
ค่าที่เป็นเวบบอร์ดที่มีอายุยืนยาวเกือบที่สุดของวงการอินเทอร์เน็ทไทย ตั้งแต่ยุคโมเด็ม 14 K ถึงไฮสปีด 6M ด้วยอายุเกินสิบปี ตั้งแต่สมัยที่สมาชิกทั้งเวบรวมกันสามารถนั่งกินก๋วยเตี๋ยวกันได้ในร้านเดียว จนกระทั่งมีสมาชิกหลักหมื่นในทุกวันนี้

เวบพันทิป หรือพูดให้ถูก คือประชาคมพันทิป กระเพื่อมพลังสะเทือนออกมานอกจอหลายต่อหลายครั้งอย่างมีนัยยะ นับตั้งแต่การอุ้มชูหนังที่ทำท่าจะเจ๊งจนเป็นหนังระดับติดกระแสอย่าง "โหมโรง" ชุบชีวิตร้านหอยทอดลุงเตาถ่าน ไล่ล่าจับโกหกนักร้องเนปาลกำมะลอจนไปจบในเรือนจำ หรือถอดถอนโฆษณานับไม่ถ้วนที่ไม่ชอบด้วยจริตชุมชน

ในวันนี้ เวบพันทิปถูก "ท้าทาย" ครั้งสำคัญที่สุด จนน่าเสียดายหากจะปล่อยทิ้งหลงลืมโดยไม่มีการบันทึกไว้

นั่นคือการ "ลุกฮือ" ของผู้เล่นกลุ่มสำคัญ ที่ลุกขึ้นร้องถามความชอบธรรมในการดำเนินงานของผู้ดูแลเวบ หรือ Webmaster จนกระทั่งเกิดการปะทะกันเชิงอำนาจ ที่มีการสูญเสียสมาชิกภาพ (หรือเรียกลำลองว่า "อมยิ้ม") กันครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเวบนี้

กัมมันตภาพรังสี'ถึงไทยแน่

เหตุลมเปลี่ยนทิศทาง

"สมิทธ" ยัน "กัมมันตภาพรังสี" จากญี่ปุ่นมาไทยแน่ปลายปี เหตุลมเปลี่ยนทิศ จะอันตรายหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสีที่ปล่อยออกมา ปชช.ยังค้านสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ลั่นให้สร้างในกรุงเทพฯ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มี.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกระบวนการทางนโยบายในการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานนิวเคลียร์ โดยศึกษาจากบทเรียนการกรณภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นในการป้องกันและรับมือกับสาธารณภัย โดยมีนางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.นครศรีธรรมราช รองประธานฯ เป็นประธานการประชุม โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนเครือข่ายประชาชนไม่เอานิวเคลียร์ ร่วมแสดงความเห็น

นายลภชัย ศิริภิรมย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า นับจากที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดระเบิด และสารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายไปสู่ท้องฟ้า ทางสำนักงานฯ ได้ตรวจวัดค่ารังสีในประเทศไทย ล่าสุดมีค่าเท่ากับศูนย์ นอกจากนั้นได้เตรียมการป้องกันโดยจัดหน่วยงานตรวจรังสีบุคคลที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น หรือบุคคลที่สงสัยว่าจะสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสี

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผมหมดศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์

ใบลาออก และเหตุผล 5 ประการ : พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ

วันที่ 29 มีนาคม พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ ได้เผยแพร่ "หนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์" ผ่านสื่อต่างๆ เนื้อความของหนังสือลาออก มีใจความ ดังนี้

กราบเรียนท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
กระผม นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประเภทสามัญเลขที่ 43414075 โดยผมได้สมัครเป็นสมาชิกตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังจะต้องตกเป็นฝ่ายค้านเพราะความนิยมกำลังถาโถมไปที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้งทั่วไป และพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท. ทักษิณก็ได้เป็นรัฐบาลสมัย

ตอนนั้นตัวกระผมเองได้หอบหิ้วปริญญาตรีและโทกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจไม่นานนัก พร้อมกับความเชื่อที่ว่าคนเราทุกคนควรมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อสร้างสังคม ที่ดี และการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้

ฟันธง! โลกาวินาศ ปี 2012 เป็นไปได้ !!

อันตรายกว่าภัยพิบัติทั้งปวง...พายุสุริยะ

ทฤษฎีเรื่องโลกาวินาศ ปี 2012 มีคนเริ่มเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะก่อนจะถึงปี 2012 ได้เกิดภัยพิบัติรุนแรงทั่วโลก คล้ายการส่งสัญญาณเตือน
ล่าสุด โศกนาฎกรรมสึนามิ ในญี่ปุ่น น่าตกใจและน่าสยองโลก
เสมือนความตาย...มาเคาะประตูบ้านแล้ว

"มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์พิเศษ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) และผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในประเด็นที่หลายคนอยากรู้คือ โลกาวินาศ ปี 2012 เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ?

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครอง

ความหมายของการเมือง

“การเมือง” (politic) มาจากคำภาษากรีก “polis” แปลว่า “รัฐ” หรือ“ชุมชนทางการเมือง”มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้ให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกัน ขึ้นอยู่กับทัศนะและความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละคน
เพลโต (Plato) นักปราชญ์กรีกให้ความหมายของการเมืองว่า “เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรม และเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม”
อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า “การเมือง” หมายถึง การใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์”
ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ว่า “การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ

1 เกี่ยวข้องกับมหาชน มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
2. เกี่ยวข้องกับรัฐ
3. เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ

ขอบข่าย และธรรมชาติของการเมือง
โรเบิร์ต เอ เดาส (Robert A Dalh) ให้คำอธิบายถึงธรรมชาติของการเมืองไว้ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีนักปกครอง

ฉบับ "หมอเลี๊ยบ-สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี"

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บรรยายพิเศษ เรื่อง "ยุทธศาสตร์ใหม่ ปฏิรูปสังคมไทย" ในงานอบรม โครงการผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่น 2 (Leadership for Change) จัดโดยมูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมกับเครือมติชน ที่อาคารข่าวสด เมื่อวันที่ 27 มี.ค.

ตอนหนึ่งว่า "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" เคยกล่าวไว้ว่า If at first, the idea is not absurd, then there is no hope for it. ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราคิดแบบเดิม ก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิม แต่ถ้าเราคิดให้แปลก อาจมีความหวังขึ้นมาได้ เหมือนกรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่เสนอครั้งแรกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คนฟังก็หัวเราะไม่คิดว่าเป็นไปได้ ผู้สมัครส.ส.ก็ไม่กล้านำไปหาเสียง แม้แต่พรรคได้ตั้งรัฐบาลแล้วก็ยังพูดกันว่าไม่สามารถทำได้จริง แต่กลับทำให้เกิดการปฏิรูประบบสาธารณสุขครั้งใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างการจัดการทั่วประเทศ

อดีตรองนายกฯ กล่าวว่า ในความเป็นจริง ปัญหาของสังคมไทยไม่ได้ต่างจากปัญหาของสังคมโลก ซึ่งตรงนี้เราไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่สามารถเรียนรู้จากประเทศอื่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศเราได้ และพัฒนาต่อให้ดีขึ้น เห็นได้จากนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยเห็นตัวอย่างเมืองนอก ก็นำเข้ามาในประเทศไทยจนกลายเป็นที่นิยม เช่น กรณีคุณตัน ภาสกรนที อดีตผู้บริหารโออิชิ ทำร้านถ่ายรูปแต่งงานหรือบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น

ควันหลง .... ไข่ชั่งกิโล

การแก้ปัญหาแบบนักการเมือง

โดย บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ
ที่มา : ประชาไท
นโยบายขายไข่ชั่งกิโล ภายใต้โครงการประชาภิวัฒน์ของรัฐบาล ฯพณฯ (ทั่น) อภิสิทธิ์ ต้องพับฐานไปค่อนข้างแน่แล้วนั้น เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า การตีโจทย์ไม่ทะลุอาจนำมาซึ่งอาการ “หน้าแตก” ชนิดที่ “หมอไม่รับเย็บ” ได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

สาเหตุของความล้มเหลวมาจาก การพยายามที่จะทำให้ราคาไข่ไก่ลดลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ปรัชญาของนโยบายนี้ก็คือ ถ้าตัดขั้นตอน “การคัดไข่” ออกไป ไข่ไก่ก็จะมีราคาถูกลงฟองละ 10 ถึง 20 สตางค์ทันที ดังนั้นแม่ค้าไข่ไก่ตามตลาดสดหรือตลาดนัด จึงต้องเปลี่ยนวิธีขายไข่มาเป็นแบบชั่งกิโล โดยรัฐบาลกำหนดราคาให้เสร็จสรรพที่กิโลกรัมละ 50 – 52 บาท

แต่ถ้านำเอาหลักเกณฑ์ทางการตลาด (Marketing Principle) มาจับ ไม่ว่าจะมองใน Segment ใด ก็ล้วนไม่สอดรับกับทฤษฎีไข่ชั่งกิโลนี้ด้วยกันทั้งนั้น กล่าวคือ ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่ม “ครัวเรือน” มักจะเน้นที่ความสะดวกสบาย (Convenience) หากต้องการน้อยก็จะซื้อน้อยฟอง มีไข่ไก่ให้เลือก (ซื้อ) หลากหลายบรรจุภัณฑ์และหลากหลายราคา ตามคุณภาพที่ตนเองพึงพอใจ ขณะที่กลุ่มร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือโรงแรมจะต้องการไข่ที่มีขนาดมาตรฐาน เช่น เมนูไข่ดาวอาหารเช้า ควรต้องมีขนาดฟองเท่าๆ กัน เป็นต้น อันหมายถึงต้องผ่านการคัดแยกเบอร์มาแล้วนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้จัดระเบียบการเมือง

สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน


เมื่อการเมืองไทยกำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง แม้จะมีพวกนักเล่นเกมอำนาจโรคจิตกลุ่มหนึ่ง ยังพยายามทุกวิถีทางเพื่อขัดขวางไม่ให้เกิดประชาธิปไตยอยู่ก็ตามที

แต่วันนี้ต้องถือว่าการเลือกตั้งอยู่แค่เอื้อมแล้ว มีความเคลื่อนไหวขานรับกันอย่างคึกคัก มีการมองหาสูตรใหม่ๆ เพื่อเป็นทางออกให้กับบ้านเมือง ภายใต้ร่มธงการเลือกตั้ง จริงอยู่ การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของประชาธิปไตย

แต่ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อำนาจถูกดึงไปไว้ในมือของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งคิดกันเอาเองว่าเป็นคนดี ให้คนกลุ่มนี้เข้ามาจัดระเบียบการเมืองให้เรียบร้อยลงตัวสักระยะ ประการหลังนี้จะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร

แล้วคำว่าคนดี ป่านนี้พี่มาร์คยังสั่งสอนบทเรียนให้ไม่เข็ดกันอีกหรือ การเลือกตั้งจึงเป็นความปรารถนาของคนส่วนใหญ่มากกว่า

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

สมัชชาเครือข่ายองค์กรชุมชน

ดันมติสู่เวทีปฏิรูประดับชาติ


เพื่อผลักดันเข้าสู่เวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 1ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26มีนาคมนี้โดยมีข้อเสนอสำคัญที่เครือข่ายองค์กรชุมชนสามารถดำเนินการปฏิรูปหรือจัดการตนเองได้ทันทีควบคู่กับข้อเสนอให้หน่วยงานและรัฐบาลสนับสนุนรวม 5 ประเด็น 27 ข้อเสนออาทิ

การคืนอำนาจการจัดการตนเองให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเน้นให้เครือข่ายองค์กรชุมชนระดับตำบลมีส่วนกำหนดแผนพัฒนาระดับตำบลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การปฏิรูประบบการจัดการที่ดินเพื่อความเป็นธรรม การส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นการปรับเปลี่ยนระบบเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยส่งเสริมให้ชุมชนปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ ลดการพึ่งปัจจัยการผลิตที่เป็นพิษ ผลักดันพรบ.คุ้มครองพื้นที่การเกษตร และการบูรณาการกองทุนชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นต้น

ปฏิรูปประเทศไทย

”ความเพ้อเจ้อ” ของนายประเวศ วะสี

โดย ไกรก้อง กูนอรลัคขณ์
ที่มา : ประชาไท
นายประเวศ วะสี ประธาน คสป. แถลงว่า วันที่ 24-26 มีนาคมนี้ จะมีการจัดสมัชชาปฏิรูปเป็นการประชุมสุดยอดทางสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อ ร่วมจัดทำฉันทามติแก้ทุกข์ของชาติซึ่งไม่มีรัฐบาลใดอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจะแก้ไขได้ เพราะเกิดจากโครงสร้างที่ทำให้คนส่วนน้อยเอาเปรียบชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย โดยกล่าวว่า จะมีการขอฉันทามติ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น กระจายการที่ดิน พลังศิลปเยียวยาการชิงชังและทอนกำลังกัน

แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยังไม่มีการพูดถึง การล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม นายประเวศ มักกล่าวถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการสมานฉันท์ การปรองดอง การที่แต่ละส่วนมีหน้าที่ในการผลักดันให้องคาพยพเคลื่อนตัวไป

เหมือนดั่งกับว่า สังคมในโลกนี้ไม่มีความขัดแย้ง เป็นทฤษฎีเดียวกับฮิตเลอร์ เผด็จการนิยมใช้กล่าวอ้างในการควบคุมประชากรไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออำนาจผู้ปกครอง

"อภิสิทธิ์" ยันเดินหน้า "เลือกตั้ง"

ไม่หวั่นเกมมาตรา7-โนโหวต

"สดศรี" อึดอัดการเมือง จ่อไขก๊อก กกต. ดอดสมัคร กก.ปฏิรูปกฎหมาย เคืองเรื่อง กม.ลูก 3 ฉบับ "นายกฯ" ไม่หวั่น "สนธิ" เดินเกมให้ใช้ มาตรา 7-ปลุกโนโหวต ชี้เป็นสิทธิตามระบอบ เชื่อทุกอย่างอยู่ที่ประชาชนตัดสินใจ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ได้ไปสมัครเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายแล้ว เนื่องจากเบื่อหน่ายการเมือง หากได้รับการสรรหาเป็นคณะกรรมการปฏิรูปก็จะลาออกจากการเป็น กกต.ทันที ทั้งนี้ไม่ได้หวังว่าจะได้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แต่ในเมื่อมีช่องทางที่ดีกว่า ก็ต้องดิ้นรนกันไป สำหรับกระบวนการสรรหาคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายน่าจะแล้วเสร็จไม่เกินเดือน พฤษภาคม เรื่องนี้น่าจะเร็ว โดยตนไปสมัครเองในวันสุดท้าย และหากไม่ได้รับการสรรหาตนก็จะยังทำหน้าที่ กกต.ต่อไป

"ตอนนี้เราก็คิดแล้วว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้เราเหมือน กกต.ชุดที่สองหรือไม่ เพราะกฎหมายก็ไม่เรียบร้อย และลักษณะการเมืองครั้งนี้ก็ดูแปลกๆ เหมือนกับจะโยนลูกให้ กกต.รับทั้งหมด ไม่ใช่จะกลัว มาถึงขนาดนี้แล้ว ก็ต้องทำทุกอย่าง เบื่อตรงนี้ ถ้าหากดิฉันออกก็คงจะมีคนดีใจอีกเยอะ ที่ผ่านมาทุกวันนี้โดนโจมตีทุกอย่างแล้ว ไม่มีอะไรหนักหนาสาหัสไปกว่านี้แล้ว หากจะโดนโจมตีเรื่องไปสมัครเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายก็คงจะไม่เป็นไร แต่ที่ไม่สบายใจขณะนี้คือเรื่องของกฎหมายลูก 3 ฉบับที่เขาพยายามจะไม่ให้เสร็จเพื่อให้ กกต.ต้องออกประกาศ กกต.แทน ดิฉันเป็นคนเดียวที่ออกมาตีโพยตีพายและติงในเรื่องนี้คนเดียว ต่อจากนี้ไปหากมีองค์กรอิสระไหนเปิดรับสมัครก็จะไปสมัครทุกองค์กร จะไม่หยุดแค่นี้" นางสดศรีกล่าว

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทำความรู้จัก"บึงกาฬ"จังหวัดน้องใหม่แรกคลอด

แห่งที่ 77 แดนสยาม อีกหนึ่งมนต์ขลังลุ่มน้ำโขงที่น่าจับตา

สร้างความดีอกดีใจให้กับชาว บึงกาฬ เป็นยกใหญ่ เมื่อในวันพุธที่ 23 มีนาคม 2554 นี้แล้ว ที่ บึงกาฬ จะแจ้งเกิดเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ถ้วนกระบวนความทางกฎหมาย และจะมีการจัดฉลองการเปิดประตูเมือง "บึงกาฬ" อย่างยิ่งใหญ่ ภายหลังผ่านการลงพระปรมาภิไธย และประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา อำเภอปากคาด อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ภายใต้พื้นที่ทั้งหมด 4,305 ตร.กม. และมีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 4 แสนคน ท่ามกลางความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ


คำว่า "บึงกาฬ" หมายถึง บึงที่มีสีดำ โดย กาฬ มาจากคำว่า นิลกาฬ ซึ่งเป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีดำ (พลอยนิลกาฬ)

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน


มื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2554 หลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้จัดสัมมนาปัญหาการ พัฒนาชุมชนเรื่อง “การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายธีระพงศ์ สมเขาใหญ่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายชาญชัย อรุณ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจารย์อุดมศักดิ์ เดโชชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรการพัฒนาชุมชน โดยมีอาจารย์ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนั้นได้เรียนเชิญ ดร.สมปอง รักษาธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นประธานเปิดการสัมมนา โดยผู้เข้าร่วมเป็นนักศึกษาหลักสูตรการพัฒนาชุมชน และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น) จำนวน 150 คน

ผลของการประชุมสัมมนา โดยสรุปวิทยากรทั้ง 3 ท่านได้ให้ข้อเสนอและความคิดเห็นในแนวทางการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านต่างๆ เช่น นายธีระพงศ์ สมเขาใหญ่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มองภาพรวมการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งถือว่าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ที่มีภารกิจทำงานภาพรวมของจังหวัด ยังได้สะท้อนถึงประเด็นปัญหาทั้งทางด้านการกระจายอำนาจทางการคลังแก่ท้อง ถิ่น ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลที่ไม่ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ตลอดจนแนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและความจริงใจ ของรัฐบาลต่อการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

พลิกตำนาน-เบื้องลึก รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์

จุดกำเนิด "คณะราษฎร"

เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2468 ภายในร้านกาแฟเล็กๆ ราคาถูกๆ ที่ชื่อ "Select" ซึ่งเป็นห้องแถวแห่งหนึ่งในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ภายใต้การวางแผนด้วยมันสมองของนักเรียนไทย 7 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นมี "ปรีดี พนมยงค์" และ "ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ" นักเรียนนายทหารปืนใหญ่เวลานั้น หรือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" จนสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองไทยสำเร็จเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

ประชาธิปไตย ล่วงเลยมากว่า 79 ปี ใน พ.ศ.2554 และยังเป็น 111 ปี แห่งการชาติกาลรัฐบุรุษอาวุโส อดีตผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 7 ด้วย

กระนั้นผู้ที่น่าถ่ายทอดความเป็นตัวตน "ปรีดี" ได้ดีที่สุดและยังมีลมหายใจอยู่ในห้วงเวลานี้ คงเป็นใครอื่นไม่ได้หากไม่ใช่ "ดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล" ทายาทลำดับที่ 5 จากทั้งหมด 6 คนของ "ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์"

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

"จับประเด็นการเมืองภาคประชาชน"

โดย เกษียร เตชะพีระ

ในร่างรายงานการวิจัยเรื่อง "บทบาทของการเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย" (2547) อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้จับประเด็นหลักทางแนวคิดทฤษฎี ประวัติความเป็นมา และบทบาทความสำคัญเชิงปฏิบัติของ การเมืองภาคประชาชน ในฐานะแม่กุญแจที่อาจมีศักยภาพจะช่วยไขปัญหาหลักทั้ง 3 ของการเมืองไทยปัจจุบัน อันได้แก่ 1) ปัญหาประชาธิปไตยที่ไร้อธิปไตย 2) ปัญหาหนึ่งรัฐสองสังคม และ 3) ปัญหาการใช้อำนาจรัฐโดยขาดฉันทานุมัติจากประชาชน ไว้ดังนี้

คำนิยามอย่างแคบ : - การเมืองภาคประชาชนหมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างมีจิตสำนึกทางการเมืองของกลุ่มประชาชน เพื่อลดฐานะครอบงำของรัฐ รวมทั้งเพื่อโอนอำนาจบางส่วนมาให้ประชาชนใช้ดูแลชีวิตตนเองโดยตรง

คำนิยามอย่างกว้าง : - การเมืองภาคประชาชนคือปฏิกิริยาโต้ตอบการใช้อำนาจของรัฐและเป็นกิจกรรมถ่วงดุลอิทธิพลการครอบงำของระบบตลาดเสรีในภาคประชาชน

แก่นสารของการเมืองภาคประชาชน : - กระบวนการใช้อำนาจโดยตรงโดยประชาชนหมู่เหล่าต่างๆ ซึ่งมากกว่าการเลือกตั้ง และไม่น้อยไปกว่าการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายตลอดจนตัดสินใจเรื่องที่ส่งผลกระทบถึงตน

นโยบายสาธารณะของไทย : ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร

ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา


ความจริงคิดเรื่องการเงินท้องถิ่นมาพักหนึ่งแล้ว โดยคิดว่าปัญหาของท้องถิ่นตอนนี้ได้เงินฟรีจากรัฐบาลที่มาจากภาษีของคนทั่วไป ไม่ได้เกิดจากคนในท้องถิ่นโดยตรง ดังนั้นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบของการใช้เงินและการ ตรจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Account Ability) เพราะขณะนี้การตรวจสอบมีความเบาบางและแผ่วบางมาก

ขณะนี้ระบบราชการไทยมีเรื่องนี้อยู่น้อย โดยเฉพาะในรัฐบาลของคุณทักษิณ ชินวัตร แม้ในช่วงนั้นคุณทักษิณจะทำให้เกิดคำว่า ประชาธิปไตยกินได้ แต่ก็ยังขาดการตรวจสอบอยู่ ซึ่งการแก้ไขปัญหาตรงนี้ผมอยากให้นำรายได้จากภาษีทรัพย์สินและปลูกสร้างทั้ง หมดยื่นให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ดูแล โดยให้มีการเก็บภาษีออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.เก็บจากการประเมินราคา 2.เก็บจากกำหนดอัตราการประเมิน และ 3.เก็บจากการเดินไปเก็บกับประชาชนหรือการเรียกเก็บ

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวความคิดเรื่องหลักนิติรัฐ (Rule of law) หรือหลักนิติธรรม

คือ หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎร


ความคิดในเรื่องนิติรัฐ เป็นความคิดของประชาชนที่ศรัทธาในลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism) และรัฐธรรมนูญของรัฐที่จะเป็นนิติรัฐได้นั้น จำต้องมีบทบัญญัติในประการสำคัญกล่าวถึงหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรด้วย เช่น เสรีภาพในร่างกาย ในทรัพย์สิน ในการทำสัญญา และในการประกอบอาชีพ ในฐานะนี้ รัฐจึงมีสภาพเป็นคนรับใช้ของสังคมโดยถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้ว่า การที่รัฐจะเคารพต่อเสรีภาพต่างๆ ของราษฎรได้นั้น ย่อมมีอยู่วิธีเดียว ก็คือ การที่รัฐยอมตนอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายโดยเคร่งครัดเท่านั้น และตราบใดที่กฎหมายยังใช้อยู่กฎหมายนั้นก็ผูกมัดรัฐอยู่เสมอ

ความคิดเรื่องนิติรัฐ ย่อมเกิดขึ้นโดยการที่ราษฎรต่อสู้กับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยราษฎรเริ่มเรียกร้องเสรีภาพขึ้นก่อน ดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นนิติรัฐได้นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้
1) ในประเทศนั้นกฎหมายจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมายหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐเข้ามากล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของรัฐโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ เจ้าพนักงานก็ย่อมจะมีความผิดทางอาญา

ความสามัคคีเป็นสิ่งจำเป็น

พิทยา พุกกะมาน


ในยามที่ประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาวะคับขัน ไม่ว่าจะเป็นความหายนะจากสงคราม สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หรือในสภาวะที่ญี่ปุ่นถูกภัยธรรมชาติกระหน่ำจนมีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากและทรัพย์สินเสียหายอย่างประมาณค่ามิได้ คนญี่ปุ่นจะแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษยากที่จะหาประเทศใดเปรียบเทียบได้ นั่นก็คือความสามัคคี ความอดทนอดกลั้น วินัย และความเสียสละ คนไทยรู้สึกเสียใจที่มิตรประเทศเช่นญี่ปุ่นต้องตกระกำลำบากอันเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และคลื่นยักษ์ที่นำความเสียหายอย่างหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น

ยิ่งไปกว่านั้น กัมมันตรังสีที่รั่วจากโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ในจังหวัดฟูกูชิมาได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่คนญี่ปุ่นทั้งประเทศ คนญี่ปุ่นต้องประสบสภาวะคลานแคลนอาหาร น้ำดื่ม ไฟฟ้า และเชื้อเพลิง ระบบคมนาคม การขนส่ง และโทรคมนาคมถูกกระทบอย่างแรง คนญี่ปุ่นต้องอดทนต่อแผ่นดินไหวที่ตามมาหรือ aftershocks ทุก ๆ สิบห้านาทีโดยเฉลี่ย บางคนไม่สามารถนอนหลับได้จนเกิดอาการทางจิต จนกระทั่งบัดนี้ ก็ไม่มีใครรู้ได้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นหรือเลวร้ายไปกว่านี้ ญี่ปุ่นเคยประสบความหายนะมาก่อน เช่นความล่มสลายของประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่กรุงโตเกียวหลายสิบปีก่อนและล่าสุดที่นครโกเบ แต่คนญี่ปุ่นก็อาศัยความอดทน ความมานะและความสามัคคีจนสามารถนำพาประเทศผ่านวิกฤติและสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

นิวเคลียร์ในฝัน

สมชาย ปรีชาศิลปกุล


ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานปรมาณูของไทยคนหนึ่งได้แสดงความเห็น ว่า ในทางทฤษฎีแล้วยังไม่อาจเรียกกรณีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นซึ่งถูก คลื่นยักษ์สึนามิถล่มว่าเป็นการระเบิดได้ และรวมทั้งการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีก็ยังไม่น่าอยู่ในระดับที่เป็น อันตรายต่อชีวิตของผู้คนได้

ความเห็นที่น่าอัศจรรย์ใจนี้เป็นปัญหาอย่างแน่นอนอย่างน้อยก็กับสื่อมวล ชนแทบทั้งหมด ที่รายงานข่าวโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ต่างก็ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายถึงการ ระเบิดแทบทั้งสิ้น ทั้งกับสื่อมวลชนในไทยและที่รายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษ (ส่วนสื่อญี่ปุ่นจะใช้คำที่มีความหมายอย่างไรก็ทราบได้เนื่องจากไม่มีความ รู้ภาษาญี่ปุ่น) อันมีความหมายว่าสื่อมวลชนกำลังรายงานข่าวที่ไม่ใช่ความจริงในทางทฤษฎี

รวมทั้งกับรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่ง “กระต่ายตื่นตูม” ทำการอพยพผู้คนจำนวนนับแสนออกจากพื้นที่โดยรอบของโรงงานที่ได้เกิดการบึ้ม ขึ้น (คงต้องขอใช้คำนี้ไปก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นในทางทฤษฎีของผู้เชี่ยว ชาญไทยซึ่งบอกว่าไม่ใช่การระเบิด) ทั้งที่ระดับของกัมมันตภาพรังสียังไม่อยู่ระดับที่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

อย.ขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร'หมอเทวดา'

อภ.ผลิตไม่ไดเเหตุ "สมุนไพรปีกไก่ดำ" ขาดแคลน เล็งส่งเสริมเกษตรกรช่วยปลูก


"หมอสมหมาย" เจ้าของสูตรยาสมุนไพรรักษามะเร็งปลื้ม อย.ขึ้นทะเบียนระบุเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย แต่ติดปัญหาผลิตออกขายไม่ได้ เหตุ "สมุนไพรปีกไก่ดำ" ขาดแคลน เล็งส่งเสริมเกษตรกรช่วยปลูก นักวิจัยรับหายากเตรียมบุกอีสานกว้านซื้อ คาดเดือน เม.ย.ผลิตได้ 200-300 ขวด

เมื่อวันที่ 14 มี.ค. นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพรสูตรของ นพ.สมหมาย ทองประเสริฐ อายุ 89 ปี อดีต ผอ.โรงพยาบาลสิงห์บุรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “หมอเทวดา” ซึ่งเปิดคลินิกรักษาโรคที่ จ.สิงห์บุรี โดยมีการใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกับการใช้ตำรับยาสมุนไพรในการรักษาโรคมะเร็ง โดย นพ.สมหมาย ได้มอบสูตรตำรับยาสมุนไพรให้แก่ องค์การเภสัชกรรม ว่า เบื้องต้นองค์การเภสัชกรรมได้รับการอนุญาตจากทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสมุนไพรสูตรดังกล่าวแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ระบุสรรพคุณคือแก้น้ำเหลืองเสียไม่ใช่รักษาโรคมะเร็ง

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์การผลักดันโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

และการเคลื่อนไหวคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์

มิถุนายน ๒๕๕๐ รัฐบาล คมช. เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ๒๐๐๗ (แผนพีดีพี ๒๐๐๗)
โดยมีพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในแผน ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์

ตุลาคม ๒๕๕๐ จัดตั้ง "สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
ตั้งงบประมาณ ๑,๘๐๐ ล้านบาท สำหรับเตรียมการระยะที่ ๑ (๒๕๕๑-๒๕๕๓)

ตุลาคม ๒๕๕๐ กฟผ.ว่าจ้าง บริษัท เบิร์น แอนด์ โร ศึกษาความเหมาะสม และสถานที่ตั้งโครงการ

มีนาคม ๒๕๕๓ รัฐบาลอภิสิทธิ์ อนุมัติแผน พีดีพี ๒๐๑๐ เพิ่มขนาดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็น ๕,๐๐๐ เมกะวัตต์

กรกฎาคม ๒๕๕๓ กฟผ.สรุปผลการคัดเลือกพื้นที่จะตั้งโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์
๑. อุบลราชธานี ๒.นครสวรรค์ ๓.ตราด ๔.สุราษฎร์ธานี ๕.ชุมพร

ธันวาคม ๒๕๕๓ กฟผ.เสนอพื้นที่ให้ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

กฟผ.ตั้งงบประมาณกว่า ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อจัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่หลายจังหวัดให้ประชาชนยอมรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

มกราคม ๒๕๕๔ กฟผ.เริ่มถูกต่อต้านจากชาวจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีความพยายามจะมาใช้พื้นที่ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทน เนื่องจากมีแหล่งน้ำดิบในเขื่อนลำปาว

ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ กฟผ.เริ่มจัดสัมมนาประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ประชาชนในพื้นที่อำเภอห้วยเม็ก เริ่มรวมตัวกันตรวจสอบข้อมูลเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

๘ มีนาคม ๒๕๕๒ เครือข่ายพลเมืองประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ (คปท.กาฬสินธุ์) และแนวร่วม เครือข่ายพลเมืองฯ อีก ๔ จังหวัด ได้แก่ คปท.ร้อยเอ็ด มหาสารคาม หนองคาย และชัยภูมิ เตรียมการรณรงค์คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียรี์

๑๑ มีนาคม คปท.กาฬสินธุ์ขึ้นป้ายคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และแจกแถลงการณ์ ฉบับที่ ๑ ในพื้นที่อำเภอห้วยเม็ก

๑๒ มีนาคม ประชาชนในอำเภอห้วยเม็กและอีกหลายอำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ตื่นตระหนกและหวาดกลัวอย่างมากหลังทราบรายงานข่าวอุบัติภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นจากเหตุสึนามิ

๑๓-๑๔ มีนาคม คปท.กาฬสินธุ์ รวบรวมทุนทรัพย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ โดยการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และ คปท.อีก ๔ จังหวัดในภาคอีสานเคลื่อนไหวเตรียมการจัดขบวนรถรณรงค์คัดค้าน

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔ กฟผ.ยังคงเดินหน้าจัดสัมมนาประชาชนเพื่อเตรียมการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ขณะที่วันเดียวกันนี้ โฆษกรัฐบาล ปณิธาน ออกมาแถลงข่าว นายกอภิสิทธิ์ สั่งทบทวนโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และว่า โดยส่วนตัวนายกอภิสิทธิ์ก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ คปท.๕ จังหวัดภาคอีสาน เคลื่อนขบวนรณรงค์คัดค้านทั่วจังหวัดกาฬสินธุ์
และอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ ๑ อีกครั้งหนึ่ง ที่หน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์

นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เพิ่งรู้ข้อมูลเป็นทางการครั้งแรก พร้อมให้ความช่วยเหลือชาวบ้านเต็มที่ ย้ำชัดเจนน้ำในเขื่อนลำปาวจะต้องถูกใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ของพี่น้องกาฬสินธุ์เท่านั้น

หลังจากนั้นผู้ว่าฯกาฬสินธุ์ได้รับหนังสือคัดค้านและฟังคำแถลงการณ์แล้ว พร้อมชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหา สร้างความพอใจให้กับผู้ชุมนุมและแยกย้ายกันกลับบ้านโดยสงบ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

คปท.กาฬสินธุ์ ออกแถลงการณ์คัดค้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

คปท. ๕ จังหวัดภาคอีสานร่วมต้าน

แถลงการณ์ฉบับที่ ๑
เรื่อง
คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

จากการดำเนินงานมวลชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป้าหมายจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจัหวัดกาฬสินธุ์นั้น พี่น้องประชาชนในจังหวดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียง ได้ตื่นตระหนกตกใจกลัว โรงไฟฟ้ามหาภัย์นิวเคลียร์แห่งแรกของไทยจะกลายเป็นเมรุเผาศพขนาดใหญ่ในประเทศ ทั้งนี้เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีประโยชน์มหาศาลก็จริง แต่ก็มีโทษมหันต์ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่รับผิดชอบโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

ประการแรก โดยตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีกัมมันตภาพรังสี ถ้ารั่วออกมาเหมือนโรงไฟฟ้าเชอโนบิลของรัสเซีย จะมีคนรอบโรงไฟฟ้ารัศมี ๒๐๐ กิโลเมตร รับรังสีกันทั่วหน้า คนที่ถูกรังสีแล้วจะตายด้วยโรคมะเร็งในเร็ววัน ส่วนคนภายในโรงไฟฟ้าและใกล้ๆโรงไฟฟ้านั้นไม่ต้องพูดถึง ถูกรังสีเผาเกรียมตายอย่างอนาถ ในกรณีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องตามปกติไม่มีรังสีรั่วออกมา แต่มลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมลภาวะทางอากาศและน้ำ เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้น้ำหล่อเย็นปริมาณมหาศาล กฟผ. ต้องใช้น้ำดิบที่มีอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์จนแทบหมดแต่เพียงผู้เดียว ชาวนาชาวไร่ในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงจะไม่มีน้ำทำการเกษตร

ประการที่สอง กฟผ. เป็นหน่วยงานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะดูแลรักษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะภายใน กฟผ. มีการทุจริตคอรัปชั่นชุกชุม ทุจริตตั้งแต่ขั้นตอนจัดซื้อที่ดินก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต่อมาก็ทุจริตโครงการก่อสร้าง ทำให้โรงไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำ ตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ก่อสร้างผิดสเป็ค เพราะการคอรัปชั่นแล้ว คนรับกรรมคือประชาชนในจังหวัดที่โรงไฟฟ้านั้นตั้งอยู่

จากเหตุผลสองประการนี้ ประชาชนผู้มีหูตาแจ่มใสในทุกจังหวัด จึงค้ดค้านโรงไฟฟ้าคุณภาพต่ำของ กฟผ. ดังที่พี่น้องชาวอุบลราชธานี ชาวประจวบคีรีขันธุ์ และชาวนครศรีธรรมราช ได้ปฏิเสธโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้วทั้งสิ้น

ประชาชนชาวกาฬสินธุ์จึงขอประกาศเจตนารมย์คัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเด็ดขาด และจะขับไล่ผู้เป็นนายหน้าและพนักงาน กฟผ. ออกจากพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในโอกาสต่อไป

เครือข่ายพลเมืองประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์ (คปท.กาฬสินธุ์)
๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

ต้นแบบปฏิรูปการเมือง “ฉบับชาวบ้าน”

การแข่งขันทางการเมืองในท้องถิ่นสร้างความร้าวฉานในชุมชน


การเมืองเป็นเรื่องน่าเบื่อ” คือเสียงสะท้อนจากคนทั่วไป และสำหรับกลุ่มฮาร์ดคอร์หรือคอการเมือง “การเมืองเป็นเรื่องต้องมีส่วนร่วม” ความคิดเช่นนี้ปัจจุบันไม่น่าจะแตกต่างระหว่างคนเมืองและชนบท ท่ามกลางสังคมข่าวสารที่ไหลบ่า และมีปรากฏการณ์ปัจจุบันเป็นประจักษ์

โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน พาไปร่วมกันสอดส่องความคิดทางการเมือง และทางออกของชาวบ้านจากพื้นที่ต้นแบบการเมืองสมานฉันท์…

การเมืองทำชุมชนร้าวฉาน-เสนอ“ไร้โหวต”ที่ควนรู

…การแข่งขันทางการเมืองในท้องถิ่นสร้างความร้าวฉานในชุมชน และทำให้การพัฒนาด้านอื่นๆสะดุด ทำให้ชาวบ้านเบื่อหน่ายการเมืองแบบเดิมๆ จึงร่วมกันสร้างการเมืองสมานฉันท์ขึ้นมาเอง…

ธรรมาภิบาลกับการอภิบาลประชาชน

โดย ธัชชัย แก้ววารี


ความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันเป็นไปอย่างฉาบฉวย หลากหลายและรวดเร็ว ทำให้ผู้คนในทุกมุมโลก ต้องปรับตัวเปลี่ยนวิธีคิดและสร้างสมดุลต่อการดำรงชีวิตให้ทันกับเหตุการณ์ ที่ก้าวไปด้วยความเร่งสูง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อการแสวงหาความสุข การมีชีวิตที่ดีขึ้น ดีกว่าหรือสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่ขับเคลื่อนไปตามอัตภาพ อัตกำลังของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละรัฐ หรือแม้กระทั่งแต่ละประเทศก็ตามที

การอภิบาล การบริบาลช่วยเหลือและการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ ส่วนราชการของแต่ละประเทศ จึงต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถเพื่อผลักดันให้หน่วยงานและบุคลากรของตนได้ปก ป้องดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนภายใต้การปกครองให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแย่ง ชิงทรัพยากรกันของมวลมนุษยชาติในโลกโลกาภิวัตน์ยุคสมัยนี้

รัฐไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการนำเอาศาสตร์การบริหารจัดการในโลกสมัย ใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือในการอภิบาลสังคมเพื่อตอบสนองต่อการให้บริการและ ความต้องการของประชาชนในประเทศ ระยะต้นมีเครื่องมือหลายๆ ตัวที่ได้นำมาใช้และสามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดีมีความสอดคล้องกันพอสมควร อีกทั้งมีการบูรณาการหลักการแห่งศาสตร์และวิธีการทางศิลป์เข้าด้วยกันอย่าง ลงตัว เพิ่มระดับความสามารถต่อการอภิบาล และบริบาลประชาชน ตลอดจนการควบคุมการดำเนินงานของภาครัฐที่มีให้กับอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย ได้อย่างน่าชื่นชม

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผังเมืองบอกอนาคตประเทศ

ถึงเวลาจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตร


การวางผังเมืองเป็นการกำหนดทิศทาง คาดการณ์อนาคตการเติบโตของประเทศทั้งในระดับประเทศ ภาค อนุภาค และจังหวัด ซึ่งมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่สาธารณชนควรรู้ แต่ที่ผ่านมายังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนสำหรับประเทศไทยว่าจะก้าวไปในทิศทางใด

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการที่มีส่วนเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำผังประเทศและผังภาคของประเทศ ไทยในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยทีดีอาร์ไอได้มีส่วนทำการศึกษาผังภาคภาคอีสาน ผังกลุ่มจังหวัดชายแดน (มุกดาหาร สกลนคร นครพนม และสระแก้ว) และกลุ่มจังหวัดร้อย-แก่น-สาร-สินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และ กาฬสินธุ์) พบข้อน่าห่วงใยหลายประการ โดยเฉพาะด้านการเกษตรซึ่งจะมีการแข่งขันกันใช้ที่ดินค่อนข้างสูง ควรมีการจัดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูกสำหรับพืชเกษตร 3 ส่วนหลักคือ พืชอาหาร พืชอาหารสัตว์ พืชพลังงาน ซึ่งควรมีการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมและสมดุล ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและควรเน้นเป็นเกษตรปลอดภัย

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล เล็คเชอร์ระบบ "ตุลาการ"

กรณี ป.ป.ช.กับศาลปกครองสูงสุด


ในอดีต "สมลักษณ์ จัดกระบวนพล" เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่ปัจจุบันในวัย 70 "สมลักษณ์" เป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) นักวิชาการ และที่ปรึกษากรรมการ ป.ป.ช.

หลายครั้ง เมื่อสังคมแคลงใจกระบวนการพิจารณาคดีความใด อดีตกรรมการ ป.ป.ช.รายนี้ จะเขียนบทความแสดงความเห็นส่งไปลงตามสื่อต่างๆ บทความของ "สมลักษณ์" มักจะเน้นไปที่ "หลักการ-หลักกฎหมาย" โดยจะหลีกเลี่ยงการแตะต้อง "ตัวบุคคล" เพราะมองว่า เมื่อใดที่ไปแตะตัวคน ปัญหาของ "บ้านเมือง" จะถูกบิดเบือนเป็นเรื่องของ "การเมือง" แทน

หลังเกิดกรณี "หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ให้ความร่วมมือกับ ป.ป.ช. เพื่อชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวหา "อักขราทร จุฬารัตน" ขณะดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากใช้อำนาจสั่งเปลี่ยนองค์คณะตุลาการที่พิจารณาคดีคำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวที่มิให้นำมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ โดยอ้างว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนตรวจสอบผู้พิพากษาศาลใดทั้งสิ้น

ความท้าทายเบื้องหน้า นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน”

โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


การให้ประกันตัวแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) “แดงทั้งแผ่นดิน” พร้อมกับการจับกุมนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ในข้อหา“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”(ป.อาญา ม.112) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงทางความคิด แนวทางนโยบาย และยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างกว้างขวางภายในขบวนประชาธิปไตย จึงสมควรที่จะอภิปรายกันอย่างสร้างสรรค์และเป็นมิตร เพื่อผลักดันให้ขบวนประชาธิปไตยยกระดับคุณภาพทางความคิดและการจัดตั้งไปสู่ ขั้นตอนใหม่

1. กลยุทธ์ปล่อยตัว นปช. ปราบปราม “แดงสยาม"
เป็นที่ชัดเจนว่า ฝ่ายปกครองเผด็จการต้องการตอกลิ่มความแตกแยกให้ขยายกว้างขึ้นระหว่างแกนนำ นปช. “แดงทั้งแผ่นดิน”กับแกนนำคนเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆ โดยหวังผลสองด้าน คือ ในด้านหนึ่ง ให้แกนนำ นปช. เกิดอาการหลงทิศผิดทาง ยึดติดอยู่กับแนวทางการต่อสู้และการจัดตั้งแบบเก่าที่เชื่อว่า สามารถต่อรองทำให้พวกตนได้รับการปล่อยตัว รวมทั้งให้มวลชนเกิดการระแวงสงสัยในตัวแกนนำ นปช. ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ “ปล่อยตัวแกนนำ นปช.เพื่อทำลาย”ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ผู้ปกครองเผด็จการก็พุ่งปลายหอกแห่งการปราบปรามมาที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ย่อย ๆ ที่ไม่ได้สังกัด นปช. ที่พวกเขาเชื่อว่า “เป็นแดงล้มเจ้า” โดยหันมาใช้อาวุธข้อหา“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”อย่างเอาการเอางาน โดยเชื่อว่า นปช. จะไม่เคลื่อนไหวต่อต้านเนื่องจากแกนนำ นปช.ไม่ต้องการ “ติดเชื้อโรคแดงล้มเจ้า”

รู้แล้ว ทำไมคนไทย "หน่อมแน้ม"

โถ ! ตัวเลขงบฯวิจัยแค่ 0.2% ติดกลุ่มต่ำสุดในโลก


วันที่ 9 มีนาคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแสดงปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 12 ในหัวข้อเรื่อง "วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร" โดยศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวตอนหนึ่งถึงความ อ่อนด้อยในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของไทย ว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา น้อยมากประมาณ 0.2% ของ GDP สัดส่วนนี้ติดอยู่อย่างนี้มา 20- 30 ปีแล้ว ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก มีนักวิจัย 600 คน ต่อประชากร 1 ล้านคนในการทำการวิจัยและพัฒนา ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนของการวิจัย และพัฒนาประมาณ 2-3 % ของ GDP และมีนักวิจัยมาทำงานประมาณ 5,000 คน ต่อประชากร 1 ล้านคน

แม้รัฐบาลปัจจุบันจะมีนโยบาย และในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 พยายามมุ่งว่า ปี 2015 จะมีนักวิจัยประมาณ 15 คน ต่อประชากร 1 หมื่นคน หรือ มีนักวิจัย 1,500 คนต่อประชากร 1 ล้านคน และงบฯ วิจัยและพัฒนา 1 % ของ GDP และยังระบุด้วยว่า เป็นของภาคเอกชนประมาณ 70 % ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ก็ยังต้องไปอีกไกลมากเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ดังนั้น เราต้องการนโยบายที่ชัดเจน โดยต้องการความมุ่งมั่นและกรอบคิด (mindset) ของทั้งประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทำไมถึงเปิดเขื่อนปากมูลไม่ได้?

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์


วันที่ 4 มี.ค.54 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระและกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) ร่วมเวทีสัมมนาสาธารณะ 2 ทศวรรษปากมูลครั้งที่ 2 ว่าด้วยเรื่อง “เปิดเขื่อนปากมูล น้ำแห้งจริงหรือ?” จัดโดยศูนย์ศึกษาพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนเพื่อสืบสานเจตนารมณ์ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ณ ห้องมาลัยหุวนันท์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยในเวทีดังกล่าวมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ นายมนตรี จันทวงศ์ ผู้ประสานงานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ประชาไทเห็นว่าน่าสนใจจึงถอดความบางส่วนมานำเสนอ

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
ผมไม่มีความรู้เฉพาะด้าน แบบคุณวิฑูรย์ หรือคุณมนตรีที่จะพูดเรื่องน้ำหรืออะไร แต่ผมสนใจเรื่องเขื่อนปากมูลในแง่ของสังคมและการเมืองไทยมากกว่า คือ เขื่อนปากมูลนับเป็นกรณีแรกๆ ในสังคมไทยเราเลยก็ได้ ที่ประชาชนระดับล่างๆ หน่อย ลุกขึ้นมาแล้วบอกว่าอย่าสร้างเขื่อนปากมูล แล้วลุกขึ้นมาเป็นกอบเป็นกำ

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

อภิสิทธิ์ “เบี้ยที่ไร้คุณค่า” (?)

นักปรัชญาชายขอบ


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยข้ออ้างที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “ต้องการเข้ามาแก้ปัญหาวิกฤตความแตกแยกของคนในชาติ นำสังคมกลับสู่ความสงบสมานฉันท์”

เหตุผลที่เขาย้ำอยู่เสมอว่าเขามีความชอบธรรมที่จะมาทำหน้าที่นายก รัฐมนตรีเพื่อนำสังคมกลับคืนสู่ความสงบสมานฉันท์ คือ “ผมไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง ไม่ได้ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แต่ทำเพื่อชาติเพื่อปกป้องสถาบัน”

จะเห็นได้ว่า วิธีอ้างเหตุผลของอภิสิทธิ์เป็นการอ้าง “คุณธรรมส่วนตัว” (เช่น ความซื่อสัตย์) เหนือ “หลักการ” ด้วยความดีส่วนตัวทำให้เขาเห็นว่า เขามีความชอบธรรมที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะก้าวขึ้นมาด้วยวิธีการผิดหลักการประชาธิปไตยก็ตาม เช่น ใช้ “เส้นสนกลใน” ไปฉก ส.ส.จากพรรคคู่แข่งมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ไปฟอร์มรัฐบาลในค่ายทหาร หรือยอมเป็นรัฐบาลอำมาตย์อุ้ม กระทั่งยอมเป็น “เบี้ย” ให้กับอำนาจเผด็จการจารีต

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

เป็นไพร่ต้องรู้จักพอเพียง : อนุสรณ์ อุณโณ

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาคณะกรรมการปฏิรูปประเทศได้จัดแถลงข่าว เรื่อง “ข้อเสนอการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร” จำนวน 5 ข้อ โดยนอกจากการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร การจัดเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมในอัตราก้าวหน้า การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับที่ดิน รวมถึงการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร ข้อเสนอสำคัญอีกข้อคือการจำกัดการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกินครัว เรือนละ 50 ไร่ ทั้งนี้เพื่อลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินและเพื่อกระจายที่ดินให้แก่ เกษตรกรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินเป็นสำคัญ

แม้จะฟังดูดี แต่ข้อเสนอดังกล่าวชวนให้เข้าใจปัญหาด้านการเกษตร ชนบท และที่ดินในประเทศไทยไขว้เขว เพราะแม้การขาดแคลนที่ดินจะเป็นหนึ่งในปัญหาการเกษตร แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่เกษตรกรโดยเฉลี่ยเห็นว่ารุนแรงหรือว่าเร่งด่วนที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาต้นทุนการผลิตจำพวกปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาด้านราคาและตลาดที่ผันผวนและมักสวนทางกับต้นทุนการผลิต ในระยะเฉพาะหน้าเกษตรกรโดยเฉลี่ยเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือในสองกรณีหลัง มากกว่า แต่รัฐบาลก็ดูเหมือนจะไม่มีมาตรการรองรับมากนัก

ยูเอ็นถอด "ลิเบีย" จากคณะมนตรีความมั่นคง

องค์การ สหประชาชาติ(ยูเอ็น) มีมติถอดความเป็นสมาชิกภาพคณะมนตรีความมั่นคงของลิเบีย หลังกัดดาฟียังเดินหน้าใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ประท้วง

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งยูเอ็น 192 ชาติ มีมติวานนี้ (1 มี.ค.) ให้มีการระงับสมาชิกภาพคณะมนตรีความมั่นคงของลิเบีย ด้วยมติเป็นเอกฉันท์ โดยปราศจากการโหวต โดยไม่มีผู้แทนจากชาติสมาชิกทั้ง 192 ประเทศ ลุกขึ้นมาโต้แย้งให้กับลิเบีย มีเพียงนายยอร์เก้ วาเลโร ทูตประจำยูเอ็นจากเวเนซุเอลาเท่านั้น ที่เรียกร้องให้นานาชาติ ยุติแผนการใช้กำลังทหารต่อลิเบีย โดยกล่าวหาสหรัฐฯว่า เป็นแกนนำในความพยายามดังกล่าว

ขณะที่ที่ประชุมสมัชชาคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน ที่เมืองเจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียกร้องให้มีการเพิกถอนสมาชิกภาพ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เสียงสนับสนุน 2 ใน 3 จากสมาชิกทั้งหมด และนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการกระทำเช่นนี้ต่อประเทศสมาชิก

นางซูซาน ไรซ์ ทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น กล่าวว่า "คนที่หันกระบอกปืนไปทางประชาชนของตนเอง ไม่ควรมีที่ยืนในคณะมนตรีความมั่นคง"

ดร.เอนก มาแล้ว (ครับ) ชูธง "ประชาธิปไตยชุมชน"

การเมืองแบบรอมชอมสามัคคี คือ คำตอบ!!!

ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของทฤษฎี 2 นคราประชาธิปไตย เงียบหายไปพักใหญ่ แต่เมื่อไม่นานมานี้ เขาไปปาฐกถาพิเศษ เรื่อง แปรถิ่นเปลี่ยนฐาน สร้างการปกครองท้องถิ่น ในการประชุมฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา

มติชนออนไลน์ นำทัศนะทางวิชาการของ ดร. เอนก มานำเสนอ ดังนี้

ดร. เอนก เปิดประเด็นว่า การบริหารการปกครองบ้านเมืองโดยทั่วไปนั้นมี 3 ระดับ จะขาดซึ่งอันใดอันหนึ่งไม่ได้ คือมีทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น โดยองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น และระดับที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชุมชน ซึ่งมีทั้งชุมชนที่เป็นเขตพื้นที่ และชุมชนที่เป็นภารกิจ เช่น สมาคมศิษย์เก่า หรือมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น

สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตยบ้านเรานั้น เป็นเพราะเรามักจะเข้าใจกันว่า ประชาธิปไตยทั้งสามระดับใช้รูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือการเลือกผู้แทน หรือผู้นำ ซึ่งที่จริงเราต้องแยกให้ออกว่า ประชาธิปไตยที่ว่านั้น คือ ‘ที่ไหน’ และ ‘ระดับใด’ ซึ่งแต่ละระดับต้องไม่เหมือนกัน ไม่ไปเลียนแบบประชาธิปไตยในระดับอื่น องค์กรส่วนท้องถิ่นต้องไม่เลียนแบบระดับชาติ แต่ต้องมีประชาธิปไตยของตนเองที่เรียกว่าประชาธิปไตยชุมชน

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ชูโมเดลการเมือง “สาธารณนิยม”

ผ่าอำนาจรัฐ กระจายสู่มือสาธารณะ รัฐ-ประชาชน เสมอภาคกัน

คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ คณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดการประชุมวิชาการ “ ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ” ระหว่างวันที่ 1-3 มี.ค. โดยมีผู้บริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกว่า 1,500 คน ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีต คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน สร้างการปกครองท้องถิ่น ” ว่า อุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย คือ ความคิดว่า ประชาธิปไตยมีระดับเดียว ทั้งที่ความจริงประชาธิปไตยไทย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับชุมชน เป็นฐานรากของสามเหลี่ยม 2. ระดับท้องถิ่น เป็นฐานกลาง และ 3. ระดับชาติ เป็นส่วนยอดของสามเหลี่ยม โดยรูปแบบประชาธิปไตยทั้ง 3 ระดับต้องมีความแตกต่าง ไม่เลียนแบบกัน ซึ่งประชาธิปไตยระดับชุมชนเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นโรงเรียนฝึกพลเมือง และทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของนโยบาย ไม่ฝากอำนาจไว้กับผู้นำเท่านั้น เพราะหัวใจของประชาธิปไตย อำนาจและความรับผิดชอบต้องเป็นของประชาชนโดยตรง สังคมสำคัญกว่ารัฐ แต่ขณะนี้ประชาธิปไตยไทย เป็นเพียงประชาธิปไตยทางอ้อมที่ประชาชนไปลงคะแนนเลือกผู้แทนเข้าไปใช้อำนาจ ซึ่งต้องเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยทางตรง คือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา และระดมทรัพยากร เพื่อแก้ปัญหา

เมื่อพันธมิตรกลายเป็นศัตรู

ปิดตำนานซ่า 58 ปี "เป๊ปซี่ - เสริมสุข"

ในตลาดน้ำดำ ห้ำหั่นกันด้วยกลยุทธ์การตลาด ผ่านสองแนวทางหลักคือ สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง กับ มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ระหว่างสองค่ายหลักคือ "โคคา โคล่า" คนไทยเรียกกันติดปากคุ้นหูว่า "โค้ก" กับค่าย "เป๊ปซี่" สองแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา สยายปีกเข้าไปทำตลาดเกือบทั่วโลกนั้นจะพบว่า ส่วนใหญ่โคคา โคล่า มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือเป๊ปซี่ ในเกือบทุกที่เสียเป็นส่วนใหญ่

จะมียกเว้นก็ไม่กี่ประเทศที่เป๊ปซี่ มีส่วนแบ่งทางการตลาดเหนือโคคา โคล่า ได้ นอกเหนือจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีรูปแบบการทำธุรกิจในลักษณะพิเศษ เข้าร่วมทุนกับรัฐบาลแล้ว ในไทยก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น เป๊ปซี่มีส่วนแบ่งในตลาดน้ำดำเหนือโคคา โคล่า ได้

เรื่องนี้ต้องยกเครดิตให้กับ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทผู้ผลิต บรรจุขวด และทำตลาดให้กับเป๊ปซี่ ในเมืองไทย มาเป็นระยะเวลาถึง 58 ปีเต็ม มาตั้งแต่ยุคก่อตั้งบริษัทแห่งนี้ในยุคของ "นายทรง บุลสุข"ก่อนธุรกจิจะถูกผ่องถ่ายมาสู่รุ่นลูก คือ "นายสมชาย บุลสุข" ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทแห่งนี้ในยุคปัจจุบัน