เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม เลขทะเบียน ๘๖๙ สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า

อุดมการณ์สถานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

เรา...มั่นใจว่า
ประชาธิปไตย เป็นจิตวิญญาณของเรา
ประเทศไทย เป็นของเราทุกคน
เรา ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอไว้อาลัยต่ออการจากไปของ ดร.พีรพันธ์  พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ

ศึกษาลักษณะการปกครองของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นแนวทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบันที่นำลักษณะการปกครองของประเทศต่างๆ เข้ามาปรับปรุงในการร่างรัฐธรรมนูญ

การปกครองประเทศอังกฤษ : ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701 เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่ยอมรับกกันมาเกือบ 300 ปีแล้ว

รัฐธรรมนูญของอังกฤษ จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัติถึง 2 ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและตามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สื่อมวลชน (Mass Media)

สื่อมวลชนเป็นแหล่งความรู้ ความคิดที่นำไปสู่พฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพราะมนุษย์จะมีความคิดได้นั้น มีสาเหตุหลายประการ เช่น จากการได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น สัมผัส จากสื่อมวลชน และความคิดเห็นของคนอื่น เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้บทบาทของสื่อมวลชนได้กระตุ้นให้คนมีแนวความคิดมีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้มาก อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์

สื่อมวลชน คือ สถาบันที่แสดงความคิด ความเคลื่อนไหวในรูปร่าง ข่าวสาร ปรากฏการณ์ของประชาชนต่อรัฐบาลและของรัฐต่อประชาชน ตลอดถึงเป็นแหล่งสื่อสารระหว่างประชาชนต่อประชาชนด้วยกัน สื่อมวลชนจึงมีความสำคัญต่อระบบการเมืองการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันถือว่าเสียงประชาชนหรือปรากฏการณ์ของประชาชนคือเสียงสวรรค์หรือสวรรค์บันดาล ฉะนั้นสื่อมวลชนในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงเปรียบเสมือน “หน้าต่างประชาชน” โดยทำหน้าที่เป็นหู เป็นตา เป็นขา เป็นแขนของประชาชนในทุกกรณี ประชาชนสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดหรือเข้าถึงรัฐบาลโดยผ่านสื่อมวลชน ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลก็สามารถแจ้งข่าวสารและเข้าถึงประชาชนได้โดยอาศัยสื่อมวลชนแต่ละแขนงได้เป็นอย่างดี สื่อมวลชนที่มีความสำนึกต่อวิชาชีพและมีความรับผิดชอบสูงนั้นมีความสำคัญมากที่จะช่วยจรรโลงความเป็นประชาธิปไตยในสังคม ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลจักออกกฎระเบียบรับรองการมีและการประกอบอาชีพสื่อมวลชนได้อย่างกว้างขวาง ยอมให้สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่แสดงบทบาทต่อบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่ภายใต้ขอบเขตระเบียบที่ให้ไว้

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พุทธทำนายอนาคต ประเทศที่นับถือพุทธศาสนา

พระพุทธทำนายเหตุการณ์ของโลก

ประการที่ ๒. ที่ยืนยันว่าประเทศไทยจักไม่ตกเป็นทาสของใครๆ นั้นคือ พระพุทธทำนายเหตุการณ์ของโลก พระพุทธทำนายนี้ก็มีปรากฏในสมุดข่อยของพระพุทธโฆษาจารย์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีข้อความปรากฏโดยสังเขปดังนี้

“อานันทะ..ดูก่อน อานนท์ โลกต่อไปจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อน ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๕) จะมีฝนเหล็กตกจากอากาศ จะมีไฟลุกจากอากาศ เหล็กกล้าจะผุดจากน้ำมาทำลายมนุษย์ มนุษย์และสมณะชีพราหมณ์จะตายกันมาก

แต่ว่า..อานนท์ ความเร่าร้อนก่อนกึ่งพุทธกาลนั้น ยังมีความเร่าร้อนน้อยกว่า ความเร่าร้อนหลังกึ่งพุทธกาล

หลังกึ่งพุทธกาลจะมีความร้ายแรงยิ่งไปกว่านั้น ยักษ์หินที่ถูกสาปจะลุกขึ้นมาอาละวาดสมณะชีพราหมณ์จะล้มตาย ยักษ์นอกพระพุทธศาสนาทั้งหลายจะฆ่าฟันกันและกัน จะตายกันไปคนละครึ่ง จึงจะหยุดยั้งเลิกรบกัน

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อันว่าสื่อมวลชน

อันว่าสื่อ มวลชน ที่ดีนั้น
ควรสร้างสรร ปัญญา คู่สมอง
ให้ข่าวสาร ถูกต้อง ตามครรลอง
ไม่ถือครอง อัตตา แต่ฝ่ายเดียว

นำเสนอ ข้อมูล ไม่คลาดเคลื่อน
อย่าแชเชือน ความจริง ไม่แลเหลียว
สื่อเป็นสื่อ หน้าที่ มีสิ่งเดียว
คือยึดเหนี่ยว อุดมการณ์ ด้วยวิชชา

นำเสนอข่าว สารให้ ถูกต้อง
อย่ามัวหมอง เพราะมีนาย คอยให้ท่า
อย่าเชลียร์ เขียนข่าว ด้วยมารยา
อวิชา พาตกต่ำ ระยำจริง

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อีกยุทธศาสตร์หนึ่งของชาติ ขอย้ำเตือน ดร.โกร่งอย่าลืม

ดร โกร่ง vs ประชาธิปัตย์
คนเดินตรอก
วีรพงษ์ รามางกูร

ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นเครื่องชี้อย่างดีว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของบ้านเรา ต้องการการปฏิรูป อย่างรุนแรงและขนานใหญ่ มิฉะนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มี ระบอบการปกครองโดยพรรคใหญ่ พรรคเดียว ซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเราและ เราก็ไม่ต้องการอย่างนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็เหมือนกับพรรคการเมืองอื่นที่ต้องถือว่าเป็นของประชาชน มิใช่พรรคของกรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกพรรคเท่านั้น เพราะได้รับเงินจากภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนทั่วประเทศไปทำกิจกรรมของพรรค พรรคต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้เสียภาษีด้วย ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์มีเหตุผล ควรฟังว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์อะไร อย่ามัวแต่ค้นหาว่าทำไมเขาจึงวิพากษ์วิจารณ์

เรื่องแรก พรรคต้องเปลี่ยนทัศนคติ เสียใหม่ว่า การเอาแต่คิดโค่นล้มคู่ต่อสู้ ทุกวิถีทางนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ แม้ว่าตอนที่ก่อตั้งพรรคเมื่อปี 2489 พรรคประสบ ความสำเร็จในการโค่นล้มพรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพ โดยการ ร่วมมือกับทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับจอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพลป.พิบูลสงคราม ลงเลือกตั้งโดยการ ช่วยเหลือของทหารในเดือนมกราคม 2491 เป็นรัฐบาลอยู่ได้ 4เดือน ก็ถูกทหารหักหลังจี้ให้ลาออก หลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไร จนเกิดกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะทหารแตกคอกันเองไม่ใช่ฝีมือของพรรค ทรรศนะที่ถูกต้องก็คือ ต้องสร้างผลงานในทางสร้างสรรค์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการต่างประเทศ ในด้านการต่างประเทศ ประเทศเราใหญ่พอที่ผู้นำของเราสามารถจะเป็นผู้นำของภูมิภาคอย่าง ดร.โมฮัมเหม็ด มหาเธร์ ได้น่าเห็นใจผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนมากเป็นทนายความ เป็นครู เป็นข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จน้อย หัวหน้าพรรคแม้ว่าจะมีอายุพอสมควรแล้ว มีการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของโลก แต่ไม่เคยทำงานรับผิดชอบจริงๆ ข้อสำคัญอยู่ไปๆ ถูกพรรคล้างสมองลืมหลักการทางปรัชญากฎหมาย รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เสียสิ้น ค้านทุกเรื่องที่ฝ่ายตรงกันข้ามทำ หรือฝ่ายตรงกันข้ามคิดผลจึงออกมาในสายตาประชาชนว่าที่คิดที่พูดนั้น ตนเอง ก็ไม่ได้เชื่ออย่างนั้นเลย แต่พูดไปตามมติพรรคซึ่งล้าสมัยแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทฤษฏีโกลาหล โอกาสในการเปลี่ยนแปลงเป็น นิวไทยแลนด์

ทฤษฎี โกลาหล Seven Life Lessons of Chaos
Seven Life Lessons of Chaos : Spiritual wisdom from the science of change

ผู้แต่ง จอห์น บริกกส์ และ เอฟ เดวิด พีต
ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
ประเภท วิทยาศาสตร์ จิตวิญญาณ
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์ เพเรนเนียล
แนะนำโดย ชลนภา อนุกูล

ในทางวิทยาศาสตร์นั้น เชื่อว่าสรรพสิ่งล้วนมีกำเนิดมาจากการระเบิดครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “บิ๊กแบง” ไม่กี่วินาทีหลังการระเบิดนั้น มีอนุภาคจำนวนมหาศาลบังเกิดขึ้น ต่างอยู่อย่างกระจัดกระจายเต็มไปหมด ก่อนจะก่อรูปรวมตัว กลายเป็นอนุภาคขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น กลายเป็นดวงดาว โลก สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ ความเป็นระเบียบที่ปรากฏขึ้นในความรับรู้ของเราในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลของภาวะแห่งความปั่นป่วนยุ่งเหยิงนี้

ปรากฏการณ์ธรรมชาติหลายต่อหลายอย่าง ดังเช่น ฟ้าผ่า เฮอริเคน แม่น้ำ ชายฝั่งทะเล ดูแล้วเหมือนเป็นสิ่งที่ปราศจากโครงสร้างแน่นอน และดูเหมือนปราศจากกฏเกณฑ์ แต่หากใช้เวลาในการสังเกตดูสักระยะหนึ่งก็อาจพบได้ว่า สิ่งเหล่านี้มีโครงสร้างที่ซ้ำๆ กัน เรียกได้ว่ามีระเบียบบางอย่างซ่อนอยู่ในการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เหล่านั้น

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ

เปิด...คู่มือมนุษย์ พิชิตความเบื่อ กับวลีท่านพุทธทาส : ของกู - ของสู

เคยหรือไม่? เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร วันๆ นอกจากกิน, นอน, ทำงาน, เที่ยวเตร่, อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง, คุยกับเพื่อนกับแฟน ฯลฯ ซ้ำไปซ้ำมาแล้ว ชีวิตมีอะไรเป็นแก่นสารบ้าง สมมุติว่าเรามีเงินมากมาย จนไม่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง มีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือ มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวที่ดี เรียกว่ามีครบไปหมดซะทุกสิ่งที่ควรมีแล้ว

คนๆ นั้นยังจะมีความสุขโดยไม่มีทุกข์หรือไม่ ถ้ายังมีทุกข์อยู่อีก เช่นนั้น คนเราจะต้องมีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ แค่ไหนจึงจะทำให้มีความสุข โดยไม่เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจขึ้นอีก ไม่ทุกข์เรื่องนั้น ก็ต้องมาทุกข์เรื่องนี้ หรือมนุษย์เราไม่มีทางหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ ชีวิตเช่นนี้ เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่าจะไปสิ้นสุดเช่นไร และอย่างไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยคิด คิดแล้วเคยหาคำตอบได้หรือเปล่า หรือเพียงคิด แล้วก็ผ่านเลยไป เพราะมีอะไรต้องทำ ต้องคิดอีกมากมาย และที่สุดแล้ว ชีวิตก็ยังวนเวียนซ้ำๆ ซากๆ อยู่กับวงจรเดิมๆ เราจะปล่อยให้เป็นเช่นนี้ล่ะหรือ?

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเมือง ประชาสังคม ทุนทางสังคม

ในเรื่องความหมายของการเมือง และการให้ความหมายของการเมืองอย่างสอดคล้องกับความหมายของธรรมะ ท่านพุทธทาสกล่าวสรุปไว้อย่างชัดเจนว่า

“ขอ ให้นึกถึงความหมายของ ธรรมะ ใน 4 ความหมาย : ธรรมะคือปรากฏการณ์ทั้งปวง, ธรรมะคีอกฎของธรรมชาติ, ธรรมะคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ, ธรรมะคือผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ, นี่มันเกี่ยวกับโลกนี้อยู่อย่างแยกกันไม่ออก.

“บ้านเมือง ทั้งหลาย นี่คือปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ; เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ; แม้เป็น ปัญหาทางการเมือง, มัน เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ. มนุษย์มี หน้าที่ ที่จะต้องสะสางมัน : เรื่องการเมือง เรื่องปฏิบัติทางการเมือง นี้ก็ เพื่อจะสะสางปัญหาของมนุษย์ให้หมดไป, คือขจัดความทุกข์ ความยาก ลำบาก ให้มันหมดไป แล้วในที่สุดก็ ได้รับความสงบสุข ซึ่งก็ เป็นธรรมะอีกความหมายหนึ่ง.

“ฉะนั้นทุกคนมันหลีกไปจากกฎเกณฑ์อันนี้ไม่ได้ ; เราจะหลีกไปจากการกระทำ ที่กำลังกระทำอยู่เพื่อสิ่งนี้ก็ไม่ได้. ขอให้ มองดูในแง่ลึก ถึงขนาดนี้เป็นอย่างน้อย ก็จะรู้ว่า สิ่งที่เรียกว่า การเมือง นั้น มัน มีอยู่แก่คนทุกคน ; กระทั่งว่าคนทุกคน มีส่วนแห่งการเป็นนักการเมืองไม่มากก็น้อย. นี้เป็นสิ่งที่ต้องทบทวน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว.”
(เครื่องหมายวรรคตอน และการเน้นตัวเอนตัวหนา ในข้อความข้างต้นนี้ ผมคงไว้ตามต้นฉบับของท่านพุทธทาสอย่างเคร่งครัด)
และจากแนวการพิจารณาดังกล่าวนี้ ท่านพุทธทาสจึงให้คำจำกัดความ “การเมือง” ว่า หมายถึง “ระบบการจัดหรือการกระทำ เพื่อคนจำนวนมากจะอยู่กันโดยปราศจากปัญหา โดยไม่ต้องใช้อาชญา” คำว่า “อาชญา” ในที่นี้ หมายถึง การใช้ความรุนแรง ดังนั้น วลีที่ว่า “โดยไม่ต้องใช้อาชญา” ผมเข้าใจว่า ย่อมหมายถึงสิ่งที่นักรัฐศาสตร์และนักกิจกรรมทางการเมืองจำนวนมาก เรียกว่า “การไม่ใช้ความรุนแรง” หรือ “สันติวิธี” หรือ “non-violence” นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเมืองกับธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

ความหมายของการเมือง

ที่กล่าวมาแล้ว คือประเด็นใหญ่ประเด็นแรก อันได้แก่ ท่าทีพื้นฐานเกี่ยวกับการเมือง
ประเด็นใหญ่ถัดมาของ “ธรรมะกับการเมือง” คือ ความหมายและความเป็นมาของการเมือง
ในเรื่องความหมายของการเมือง ท่านพุทธทาสภิกขุเริ่มต้นโดยชี้ให้เห็นถึงสถานะและความหมายของการเมือง ในโครงสร้างความหมายโดยรวมของ “ธรรม”

ผู้ที่คุ้นเคยกับงานเขียนงานบรรยายของท่านพุทธทาส คงทราบดีว่า ท่านพุทธทาส มักชี้ให้เห็นถึงความหมายของธรรมะ ในสี่ลักษณะด้วยกัน

ความหมายที่ 1 คือ สภาวธรรม อันหมายถึง “สิ่งที่กำลังมีอยู่ เป็นอยู่ ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏอยู่แก่เรานี้” ทั้งในทางรูปธรรมและนามธรรม ทั้งในสภาวะที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ทั้งหมดของสภาวธรรมนี้ ย่อมมีอยู่ ดำรงอยู่ เนื่องด้วยพื้นฐานของสภาวธรรมทั้งปวง อันได้แก่ หลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งสรุปใจความสั้นๆ ตามคำกล่าวของท่านพุทธทาสได้ว่าคือ “การอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นครบถ้วน” หรือ “อาการที่มันปรุงแต่งกันระหว่างเหตุกับผล”

ประเด็นสำคัญในความหมายที่หนึ่งนี้อยู่ที่ว่า การเมืองย่อมเป็นปรากฏการณ์ในสภาวธรรมทั้งหมดนี้ด้วยเช่นกัน มิได้มีการแยกขาดว่า สภาวธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่มนุษย์เป็นเรื่องหนึ่ง และการเมืองซึ่งเกี่ยวพันกับการกระทำของมนุษย์นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ดังที่ท่านกล่าวสรุปว่า “การเมืองรวมอยู่ในคำว่า ธรรมชาติ” นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

“อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”
โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ท่าทีพื้นฐานประการสำคัญที่สุดในการพิจารณาประเด็นธรรมะกับการเมือง คือสิ่งที่ท่านเรียกว่า “อิสรภาพในการใช้สติปัญญา”

การที่เราไม่มีอิสรภาพหรือเสรีภาพในการใช้สติปัญญานั้น เกิดขึ้นเพราะ “เราถูกกระทำให้เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ หรือไม่มีเสรีภาพ” และโดยพื้นฐานแล้ว อิสรภาพทางสติปัญญานี้ “มีความสำคัญทั้งทางฝ่ายโลกและฝ่ายศาสนา”
ในฝ่ายศาสนา ท่านพุทธทาสหมายถึง การที่พุทธบริษัทไม่สามารถหรือไม่กล้าพอที่จะใช้วิจารณญาณของตน เมื่อพบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจ ปฏิบัติ หรือได้รับผลนั้น ขัดกับแนวทางที่ยอมรับกันอย่างงมงาย ส่วนในทางโลกนั้น คือการตกอยู่ในสภาพ “เป็นทาสทางสติปัญญา อย่างไม่มีอิสรภาพ” เพราะเห็นว่าเขาว่ามาอย่างนั้น หรือนิยมกันมาอย่างนั้น ท่านพุทธทาสยืนยันเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า

“ถ้าท่านไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพในการคิดนึก นอกไปจากที่เคยเรียนมาอย่างปรัมปรา ท่านก็ไม่อาจเข้าใจความจริงแท้ใดๆ ได้ ถึงที่สุด”

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักความเชื่อในพระพุทธศาสนา "มงตลตื่นข่าว"

โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)

พระพุทธศาสนาสอนให้คนเชื่อโดยใช้เหตุผล ใช้ปัญญา เราศึกษา ธรรมะหมวดใดก็ตาม ถ้ามีศรัทธาขึ้นต้น ต้องมีปัญญาประกบท้าย ศรัทธา-ศีล-สมาธิ-ปัญญา ต้องอยู่ด้วยกัน เพราะมีศรัทธาขาดปัญญา จึงงมงาย เชื่อ ง่ายใครเขาก็จะจูงจมูกไปได้ตามปรารถนา เสียผู้เสียคน ถูกหลอก ถูกต้มยุบ ยับไปหมด ใครเขาพูดอะไรก็เชื่อทั้งนั้นพอถามว่า "ใครว่า?" ก็ตอบว่า "เขาว่า" พอถามว่า "เขาไหน?" เขาหลวง" "หลวงไหน"-หลวงพรหม" "พรหมไหน?-พรหมศร" "ศรไหน?-ศรยิง" "ยิงไหน?-ยิงนก" "นกไหน?-นกเขา" "เขาไหน-เขาหลวง" นั่นมันก็ไม่ได้เรื่องแล้ว

เขาบอกว่า "มีวัว ๕ เขา" เชื่อ เขาบอกว่า "มีต้นกล้วยที่ออกปลีมา กลางต้น" ก็เชื่อ แล้วไม่ใช่เชื่อเฉยๆ ไปไหว้ด้วย ไปขอหวยขอเบอร์ เอาทองไปปิด ถ้าต้นไม้มันพูดได้ มันคงพูดว่า "พวกแกมาไหว้ข้าทำไมกัน ข้ามันเป็นต้นกล้วย ข้าไม่เก่งเท่ามนุษย์ทั้งหลาย แต่มนุษย์มันโง่จริง มาไหว้ ข้าได้" กล้วยมันก็ด่าให้เท่านั่นเอง แต่ว่ามันด่าไม่ได้ เราก็เลยไปไหว้มัน เที่ยวไหว้นั้น ไหว้นี่ ตามความเชื่อที่ไม่เป็นสาระ ไม่มีเหตุผล พระพุทธเจ้า ไม่สรรเสริญความเชื่อแบบนั้น
บัณฑิตไม่เชื่ออะไรง่ายๆ

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้พระสารีบุตรฟัง พระสารีบุตร นี่เป็น "มือขวา" ของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ พระโมคคัลลานะ เป็น "มือซ้าย" พอพระพุทธเจ้าเทศน์จบลง ก็ทรงตรัสถามว่า "สารีบุตร... เธอเชื่อไหม ที่ตถาคตกล่าว" "ยังไม่เชื่อพระเจ้าข้า" พระสารีบุตรตอบ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า "ชอบแล้ว เป็นบัณฑิตผู้มีปัญญาต้องไม่เชื่ออะ ไรง่ายๆ" เพียงรับรู้ไว้ก่อนแล้วเอาไปพิจารณาค้นคว้าให้เห็นเหตุเห็น ผลด้วยตนเอง จึงจะเชื่อ ได้ยินได้ฟังอะไรต้องพิจารณา โดยรอบคอบ จน ประจักษ์ชัดแก่ใจแล้วจึงปลงใจเชื่อลงไป นี่คือ หลักความเชื่อในพระพุทธ ศาสนา
ฤกษ์หิว-ฤกษ์ตาย

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประกาศนิติราษฎร์

เสรีภาพสื่อ = การคุ้มครองสื่อจากรัฐ + การคุ้มครองประชาชนจากสื่อ
สาวตรี สุขศรี

เกริ่นนำ
ดูเหมือนฝุ่นที่ถูกตีกวนจนฟุ้งกระจายจากข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ จางหายไปแล้วในสื่อกระแสหลัก (ยังมีบางสำนักเท่านั้นที่เล่นต่อไม่ปล่อย เช่น ไทยโพสต์) แต่ถ้าดูให้ดี ๆ จะพบว่าแท้จริงแล้วเรื่องนี้ยังไม่จบ เพียงแต่ถูกย้ายฐานเข้าไปตลบอบอวลอยู่ในเคเบิ้ลทีวี วิทยุชุมชน อินเทอร์เน็ต และเครือข่ายออนไลน์อย่างเฟสบุ๊กหรือทวิตเตอร์ อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นฝุ่นจากเรื่องเดียวกัน แต่เนื้อหาของฝุ่นในสื่อทั้งสองประเภทดูค่อนข้างแตกต่าง ลักษณะการวิพากษ์วิจารณ์ การให้เหตุผล การมีส่วนร่วมของผู้รับสื่อ ราวกับอยู่กันคนละโลก ปรากฏการณ์นิติราษฏร์ครั้งนี้สะท้อนอะไรบ้างเกี่ยวกับสื่อมวลชนไทย

ปรากฎการณ์นิติราษฎร์
คืนวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ คณะนิติราษฏร์ ตัดสินใจตั้งโต๊ะแถลงข้อเสนอทางวิชาการ ๔ ข้อ ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสที่อีกหนึ่งวันจะครบรอบ ๑ ปีก่อตั้งคณะนิติราษฏร์ ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันรัฐประหารยึดอำนาจจากมือประชาชนเมื่อ ๕ ปีก่อน วัตถุประสงค์เพียงเพื่อสรุปสิ่งที่นิติราษฏร์ทำมาแล้วในรอบปี กับเสนอประเด็นใหม่เพื่อให้เกิดการถกเถียงทางวิชาการ และให้สังคมได้นำไปขบคิดต่อ แต่พลันที่นิติราษฏร์แถลงข้อเสนอออกไป ปฏิกิริยาต่อข้อเสนอดังกล่าวทั้งในสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกคึกคัก ดุเดือด นอกเหนือความคาดหมายของสมาชิกในกลุ่ม อย่างไรก็ตาม สัปดาห์แรกภายหลังแถลงข้อเสนอ ประเด็นเดียวที่ถูกหยิบจับขึ้นวิพากษ์อย่างร้อนแรงตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็คือ ข้อ ๑ เสนอให้ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

ประเด็นที่ ๑
การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คนเดือนตุลา 2516

แตกหัก
-------------------------------------------
ในระหว่างที่มีการต่อสู้กันนั้น นักศึกษาและประชาชนได้ผนึกกำลังกัน และเผากรมประชาสัมพันธ์ ด้วยความโกรธแค้น ที่ได้ออกข่าวให้ร้ายป้ายสีตลอดเวลา แต่สารวัตรทหารเรือ ในความควบคุมของ น.อ.หม่อมหลวง เพ็ญศักดิ์ กฤดากร สามารถพูดขอร้องนักเรียนนักศึกษาไว้ได้ ส่วนสถานที่ราชการที่วอดวายในเพลิง คืก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงาน กตป. กองบัญชาการตำรวจนครบาล และโรงพักนางเลิ้ง นอกจากนั้นยังมีรถยนต์อีกหลายคันทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถเมล์ ถูกเผาและทำลายด้วย

แม้ว่าจอมพลถนอม จะลาออกจากการบริหารปะเทศไปแล้ว เมื่อตอนเย็นวันที่ 14 ตุลาคม แต่ในตอนดึกตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น จอมพลถนอม กิตติขจร ยังคงสั่งการให้ทหารตำรวจใช้มาตรการรุนแรง ปราบปราม นักเรียน นักศึกษาและประชาชน โดยอ้างอำนาจในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และยังได้ระบุว่าผู้ที่ต่อต้าน ทหารตำรวจ เป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นกลางคือ “ความชอบธรรม” หรือจะเป็นแค่วาทกรรมแห่งยุคสมัย

เมื่อมีสถานการณ์ขัดแย้งเกิดขึ้น ก็จะเกิดคู่กรณีสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายก็เรียกร้องหาความเป็นธรรมให้แก่ฝ่ายตน ประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายปริมาณ ก็จะอ้างเอามวลชนและปริมาณมาสร้างความชอบธรรม (พวกมากลากไป) ส่วนประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายคุณภาพ ก็จะอ้างเอาคุณภาพ ฐานะ ชนชั้น (นักวิชาการ นักธุรกิจ นักปราชญ์) มาสร้างความชอบธรรม นี่คือประเด็นความขัดแย้งที่หาจุดประนีประนอมกันได้ยาก

สถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ มีสาเหตุมาจากการเบียดเบียนกันเองของคนในสังคมนั้น และเกิดจาก โครงสร้างของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีสภาพบิดเบี้ยว ไม่สมประกอบ เกิดการทุจริตคอรัปชั่น การค้นหาต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว จะต้องกระทำอย่างรอบคอบ มองให้รอบถ้วน เซาะให้ถึงรากเหง้าของปัญหา ด้วยการนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantity fact) และเชิงคุณภาพ (Quality fact) มาร่วมพิเคราะห์พิจารณาด้วย อย่ามองเพียงแง่มุมเดียว หรือเพียงด้านเดียว มิฉะนั้นถ้าตัดสินลงไป ก็จะเกิดความไม่ธรรม หรือขาดความเป็นกลางทันที นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้แล้ว เท่ากับจุดไฟให้ข้อขัดแย้งมันรุนแรงขึ้น

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สรุปเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ ๕ ตุลาคม – ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ วันมหาวิปโยค บทเรียนจากอดีต

วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖
ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยสมาชิกประมาณ 10 คน เปิดแถลงข่าวที่บริเวณสนามหญ้าท้องสนามหลวง ด้านอนุสาวรีย์ทหารอาสา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
๑. เรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว
๒.จัดหลักสูตรสอนอบรมรัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน
๓. กระตุ้นประชาชนให้สำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพ
ธีรยุทธ บุญมี นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๐๐ คนแรก ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มาเปิดเผย เช่น พล.ต.ต สง่ากิตติขจร นายเลียง ไชยกาล นายพิชัย รัตตกุล นายไขแสง สุกใส นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร รวมทั้งอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น ดร.เขียน ธีรวิทย์ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ดร.ชัยอนันต์ สมุทรทวณิช อาจารย์ทวี หมื่นนิกร เป็นต้น รวมทั้งจดหมายเรียกร้องจากนักเรียนไทยในนิวยอร์ค

ทันทีที่ข่าวนี้ออกมา พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ บุตรชายของจอมพลถนอม กิตติขจร และบุตรเขยของจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางคน กำลังดำเนินการให้นิสิตนักศึกษาเดินขบวน และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฎหมายอีกก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมการสื่อสารผ่านบล็อก

ทุก วันนี้กระแส “นวัตกรรม” (Innovation) นับเป็นกระแสหนึ่งที่กำลังมาแรง นวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของคน มีการพูดถึงนวัตกรรมกันในทุกวงการ โดยเฉพาะสินค้าและการบริการ จำเป็นต้องมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอย และในเรื่องความพึงพอใจล้วนๆ ยก ตัวอย่าง บรรดาครีมบำรุงผิวทั้งชายหญิง ต่างก็มีการวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆเพิ่มประสิทธิภาพของการบำรุงผิวให้ได้ผลมาก ยิ่งขึ้น แต่ละยี่ห้อก็โฆษณาประชาสัมพันธ์ชนิดที่เรียกว่าคู่แข่งรั้งท้ายมองไม่เห็น ฝุ่น มันฝรั่งบางยี่ห้อก็มีนวัตกรรมสร้างความตื่นเต้นเร้าใจแก่ผู้บริโภค ด้วยการใส่สีเพื่อทำให้ลิ้นเปลี่ยนสีขณะที่เอร็ดอร่อยกับรสชาติของมันฝรั่ง เครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้านก็มีนวัตกรรมไม่แพ้สินค้าอย่างอื่น อาทิ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ก็มีสารเพิ่มประสิทธิภาพในการซอกซอนชะล้างคราบสกปรก ดังที่ปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์จนเกินจะจินตนาการได้

นวัตกรรมสร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์ อย่างเช่น ชาวนาปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมเครื่องจักรช่วยทำนาแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่ไถนาไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรทำให้ทุกกระบวนการ ควายจึงตกงานแล้วถูกต้อนเข้าโรงฆ่าสัตว์แทนลงทุ่งไถนา ชาวนาปลูกข้าวได้ปีละ3-4 ครั้ง ได้ผลผลิตมากขึ้น เหลือเพียงอย่างเดียวคือไม่มีนวัตกรรมใดๆที่ทำให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาที่ เหมาะสมโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง คงรออีกนานหรืออาจจะไม่มีนวัตกรรมนี้เลยก็ได้ ในเมื่ออะไรๆก็มีนวัตกรรม สื่อก็มีนวัตกรรมบ้าง สื่อทุกประเภท องค์กรต่างมีนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคข่าวสารของผู้คน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อ-เป็นกลาง-เลือกข้าง-ความรุนแรง

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ
มีคนทำสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์จำพวกหนึ่งประกาศตัวตนว่าเป็นสื่อที่ "เลือกข้าง" โดยจะเลือกอยู่ข้างความถูกต้อง และขอทำหน้าที่เป็น "ตะเกียง" ไม่เอาแล้วกับการเป็น "กระจก" ที่คอยสะท้อนภาพ เพราะสังคมไทยทุกวันนี้มันมืดมิดสิ้นดี

ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ (ความจริงควรใช้คำว่าโจมตี) สื่อที่ประกาศว่าจะทำหน้าที่อย่าง "เป็นกลาง" ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พร้อมกับเปรียบเทียบว่าระหว่างพระกับโจรจะไม่มีคำว่าเป็นกลาง แต่ต้องเลือกเอาการอยู่ข้างพระ

และระหว่างข้าวกับขี้ ถ้าเป็นกลางก็กินข้าวกับขี้ผสมกันอย่างนั้นหรือ ที่ถูกต้องเลือกกินข้าว

ฟังดูผิวเผินก็น่าจะเข้าท่าเข้าที มีเหตุผล แต่หากพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนบนหลักการของการเป็นสื่อในสังคมในประชาธิปไตย ที่ถือเอาการมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นเป็นหัวข้อสำคัญที่จะต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบทั้งต่อกฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพแล้ว คำว่า "เป็นกลาง" กับ "เลือกข้าง" จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจในหมู่คนทำสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละทิ้งบทบาทของการเป็น "กระจก" กระทำได้หรือ หาไม่แล้วการวิวาทะอาจไม่ได้เกิดผลในทางสร้างสรรค์ต่อวงการสื่อและความเข้าใจผิดก็จะขยายไปยังผู้รับสื่อ จนสุดท้ายวิชาชีพสื่อก็จะลดทอนความศรัทธาในหมู่ประชาชนเฉกเช่นเดียวกับนักการเมืองไทยที่กำลังประสบภาวะ "วิกฤตศรัทธา" อยู่ในเวลานี้

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

19 กันยานี้ ทำไม สนธิ บุญยรัตกลิน และประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงลอยนวล?

ใจ อึ๊งภากรณ์

วันครบรอบห้าปีรัฐประหาร ๑๙ กันยา ควรเป็นวันที่มีการนำนาย สนธิ บุญยรัตกลิน มาขึ้นศาลในข้อหากบฏต่อประชาชนและล้มล้างรัฐธรรมนูญ และควรเป็นวันที่มีการนำนาย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นศาลในฐานะเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่า แต่ประเทศไทยขาดความเสมอภาค ความเป็นธรรม และเสรีภาพ และขาดรัฐบาลที่เคารพประชาชนเสื้อแดง สิ่งเหล่านี้จึงไม่เกิด

ลัทธิหรือปรัชญา “ความเสมอภาค” เป็นอาวุธทางความคิดที่สำคัญที่สุดในการทำลายลัทธิอภิสิทธิ์ชนของอำมาตย์ ที่เป็นฐานรับรองความย่ำแย่ของสังคมเรามานาน

อำมาตย์ทำรัฐประหารเพราะมองว่าพลเมืองส่วนใหญ่ “ต่ำและโง่เกินไป” “ไม่ควรมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาล” อำมาตย์เกลียดชังการที่รัฐบาลไทยรักไทยในอดีตนำภาษีประชาชนมาบริการประชาชน เช่นในระบบสาธารณะสุข เพราะอำมาตย์อยากเอาเงินภาษีพลเมืองมาใส่กระเป๋าของตนเอง มาเชิดชูตนเอง หรือซื้อเครื่องบินราคาเป็นล้านให้ตัวเองนั่ง อำมาตย์เกลียดระบบรัฐสวัสดิการและประมุขของเขาได้เคยพูดไว้เป็นหลักฐานด้วย เขาชอบให้คนจนพอเพียงกับความจน ไม่อยากให้มีการกระจายรายได้ ดังนั้นเราต้องรณรงค์ให้มีรัฐสวัสดิการและการกระจายรายได้ ภายใต้แนวคิด “ความเสมอภาค”

เมื่อสื่อเลือกข้าง

โพสต์ทูเดย์ประกาศเลือกข้าง “ประชาธิปัตย์” ไม่เอา “เพื่อไทย”

วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙:๔๗ น.

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ในเครือบางกอกโพสต์ ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 คอลัมน์ของอสนีบาต หน้า A4 ได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนว่าตัดสินใจเลือกว่าที่ผู้แทนพรรคการเมืองที่ต้องการให้ประเทศชาติเดินหน้า ไม่เอาด้วยกับมายาภาพตะแล้ดแต๊ดแต๋

อสนีบาตได้เขียนบทความข่าวซุบซิบหน้า A4 ของไทยโพสต์ให้ความหมายที่ชัดเจนว่าการเลือกพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้การเมืองเดินหน้าได้ การเลือกพรรคเพื่อไทยจะทำให้มีการนิรโทษกรรมนักโทษตั้งแต่ถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นสำเนียงของมนุษย์โคลนนิ่ง นับเป็นการแสดงท่าทีอย่างเปิดเผยและกล้าหาญของสื่อมวลชนที่เลือกข้างพรรคประชาธิปัตย์ และปฏิเสธพรรคเพื่อไทย ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง หลังจากที่พรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคได้ส่งคนเข้าไปซื้อหุ้นใหญ่ในสื่อมวลชนค่ายยักษ์ 2 ค่ายเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว
นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่าตนได้เตือนคนไทยให้ได้รู้โดยทั่วกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ว่าอำนาจการเมืองและทุนสามานย์ได้ทำให้การเมืองกับสื่อต้องผูกโยงเข้าด้วยกัน พึ่งพาอาศัยและทำมาหากินด้วยกัน ทำให้เกิดสภาพสื่อขายตัว สื่อขายชาติ เช่นเดียวกับนักวิชาการขายตัวและนักวิชาการขายชาติ ซึ่งเร่งฝีก้าวหายนะและกลียุคให้กับชาติบ้านเมือง ดังนั้นในบ้านเมืองของเรายามนี้เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนจึงไม่มีใครสนใจ โพนทะนาว่ากล่าวกันด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของคนชั่วช้าสารเลวทั้งสิ้น กระแสสื่อจำนวนมากในวันนี้ยกย่องเชิดชูสนับสนุนคนชั่วช้าสารเลว เหยียดหยามประณามคนดี เข้าทำนองกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าอันลอยจะถอยจม ซึ่งเป็นสัญญาณการสิ้นชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 3

รศ.พิศิษฐ์  ชวาลาวัช

ช่วงระยะ พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๔๐ เกิดกระแสเรียกร้องเสรีภาพสร้างแรงกดดันแก่รับบาลประกอบกับ การเมืองของคนไทยสวนทางกับการเมืองของโลกเสรีในระบอบเสรีนิยม จึงเกิดยุคการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตยใหม่โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และยอมรับว่าอำนาจ อธิปไตยใหม่ หลักประกันว่าด้วย “สิทธิเสรีภาพ”ของพลเมืองจึงได้นำบัญญัติไว้ในรับธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่า

รัฐบาลย่อมมีอำนาจในการปกครองอย่างจำกัด และยินยอมที่จะอยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ ทั้งนี้เพราะอำนาจสูงสุดที่แท้จริงยังเป็นของประชาชนอยู่ เพียงแต่ว่าประชาชนได้มอบให้รัฐบาลใช้อำนาจดังกล่าว แต่อำนาจที่ได้รับมอบไม่ใช่เป็นของรัฐบาล หากรัฐบาลไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้และไม่อาจตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้ ถือว่าเป็นการละเมิดข้อตกลงที่ให้ไว้ ประชาชนย่อมมีอำนาจถอดถอนหรือขับไล่รัฐบาลได้”

เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการยืนยันถึงความคิดของจอห์น ล๊อค ( John locke) ในเรื่อง “ทฤษฏีอำนาจอธิปไตย” ทฤษฏีนี้มีความเชื่อว่าอำนาจสูงสุดที่แท้จริงอยู่ที่เจตจำนงของประชาชนในรัฐ แต่ประชาชนทุกคนจะทำหน้าที่ไม่ได้จำเป็นต้องมีตัวแทน แต่ประชาชนยังคงสงวนอำนาจสิทธิขาดไว้ไม่ยอมโอนอำนาจให้แก่กันได้

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 2

รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช

เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาวไทยยังคงเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
รัฐบาลหรือผู้ใดจะใช้อำนาจหรือกระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่อาจกระทำได้และมีหลักประกันทางกฎหมายหลายประการ(จะไม่ขอกล่าวในที่นี้) ส่วน สาระสำคัญด้วยสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงให้หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ และได้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมากขึ้นกว่าเดิม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

๑.ให้หลักประกันและคุ้มครองเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ รัฐบาลจะออก
กฎหมายกำจัดเสรีภาพไม่อาจกระทำได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติเฉพาะเท่านั้น
ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น (มาตรา ๔๕ วรรคแรก )

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
กฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง
สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพ
ของประชาชน(มาตรา ๔๕ วรรคสอง)

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทย สิทธิเสรีภาพ สังคม และสื่อมวลชน ตอนที่ 1

รศ.พิศิษฐ์ ชวาลาวัช

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู้การเมืองการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา และได้มีการประกาศให้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเรียกว่า “พระราชบัญญติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”หลังจากนั้นเกิดการแย่งอำนาจมีการรัฐประหารจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญอีกหลายครั้งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และยกเลิกรวมแล้ว๑๗ ฉบับ รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดได้แก่ รัฐธรรมนูญ ฉบับที่๑๘ และประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ แทนรัฐธรรมนูญฉบับที่๑๗ เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร(รัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๖ ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกได้วางรากฐานสำคัญในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนทางการเมือง)

การทำรัฐประหาร และ การแย่งอำนาจทางการเมือง อำนาจทางการเมืองไม่ยอมคืนสิทธิเสรีภาพ
ให้ประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญแทบจะไม่มีหลักประกันในเรื่องนี้ การวางรากฐานปลูกฝังความคิดในเรื่องอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยแทบไม่มีการกล่าวถึงเหมือน สื่อมวลชนภาครัฐถูกควบคุมโดยรัฐบาลทุกสมัย รัฐบาลขาดความมั่นคงในการบริหาร ประเทศไทยขาดการนำ”หลักประชาธิปไตย” มาใช้กับประชาชนแตกต่างไปจากรัฐเสรีประชาธิปไตยในภาคพื้นยุโรปและอเมริกา มีการวางพื้นฐานมั่นคงในเรื่อง หลักประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นชองประชาชนเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๑๖ และ ๑๗ สังคมเชื่อนักทฤษฎีการเมืองในเรื่องนี้ การต่อสู้กับชนชั้นปกครองเกิดขึ้น เป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าคือชนชั้นปกครองซึ่งทีความเชื่อในเรื่อง “ทฤษฎีอำนาจนิยม กับ ประชาชนผู้มีความเชื่อและ ศรัทธาใน “ทฤษฎีเสรีนิยม” ที่สุด อิทธิพลทางความคิดตาม “ทฤษฎีเสรีนิยม” ได้รับชัยชนะและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเกือบค่อนโลก มองย้อนสู่ประวัติสตร์แห่งการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๖ บ่งบอกให้เข้าใจว่า การได้รับอำนาจของชนชั้นปกครองไม่กี่คนอาจล่มสลายในที่สุดดังเช่น ความเชื่อตามทฤษฎีอำนาจนิยมเป็นความเชื่อที่สุดโต่งในเรื่องอำนาจรับจนถูกปฏิเสธจากประชาชนและสิ้นสุดในต้นศตวรรษที่ ๑๗ ความเชื่อในเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของคนในประเทศจึงกลายเป็นรากฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นเหตุให้เกิดเปลี่ยนทางประวัติสาสตร์การเมืองเกือบทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนารากฐานสำคัญในเรื่องหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ทั้งสองหลักต่างมีความเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์เกื้อหนุนต่อโครงสร้างทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมนับเป็นร้อยๆปี

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อในภาวะวิกฤต

สื่อในฐานะ gate-keeper ท่ามกลางสงครามข่าวสาร โดย กาแฟดำ

แน่นอนว่าสื่อในภาวะวิกฤติต้องโดนตั้งคำถาม เรื่องบทบาทหน้าที่ และความเป็นมืออาชีพอย่างเข้มข้น

ซึ่งก็ถูกต้องแล้วที่สังคมจะต้องคาดหวังว่าคนข่าว และคนกรองข่าวจะต้องทำหน้าที่ของ "ผู้เฝ้าประตู" หรือ "gate-keeper" และผู้ตรวจสอบเป็นหูเป็นตาของประชาชนอย่างตรงไปตรงมา

ยิ่งความขัดแย้งในสังคมสูง ยิ่งต่างฝ่ายต่างมีวาระของตน สื่อก็ยิ่งจะโดนกดดันให้ต้องวางตัว ให้เป็นที่พึ่งพาของคนส่วนใหญ่ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่ครั่นคร้าม และไม่ตกเข้าหลุมพรางของฝ่ายใด

แน่นอนว่าการทำหน้าที่ให้ได้มาตรฐานที่สังคมตั้งเอาไว้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็จะต้องทำอย่างสุดความสามารถ พิงหลังประชาชน และตั้งเป้าหมายหลักที่การทำเพื่อให้ความจริงประจักษ์ ไม่ว่าฝ่ายที่ขัดแย้งกันจะพอใจกับการทำหน้าที่เช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม

จึงแปลว่าคนข่าว และวิเคราะห์ข่าวจะต้องทำหน้าที่อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตอบคำถามที่ผู้คนสงสัย และไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอันเกิดจากการมีผลประโยชน์ส่วนตน

เพราะสื่อตรวจสอบฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้ง สังคมก็ตรวจสอบว่าสื่อทำหน้าที่ของตนอย่างสัตย์ซื่อหรือไม่

หลายวงสนทนาที่ผมไปร่วมวิสาสะด้วย ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของ "สื่อมวลชน" ในภาวะบ้านเมืองวิกฤติเช่นนี้

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แกนนำเสื้อแดงไม่ยอมพูดความจริงทั้งหมดกับมวลชน

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในงาน "คอนเสิร์ตต้อนรับวันอิสรภาพ ลมหายใจที่ไม่แพ้" ของเสื้อแดงเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2554 ที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว แกนนำหลายคนได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งเราจะต้องนำมาวิเคราะห์
(ดูคลิปวิดีโอได้ที่ http://thaienews.blogspot.com/ )

บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ เสนอว่า “เสื้อแดงเป็นกองหลัง เพื่อไทยเป็นกองหน้า” บอกว่าเสื้อแดงกับเพื่อไทยต้องเกาะกันสนิท และเชื่อว่าคนของเราที่คุมอำนาจอยู่ ท้ายสุดสมบัติมีความหวังว่านายกยิ่งลักษณ์จะนำคนที่สั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาลประชาชน

ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ บอกว่าจะเดินหน้าหาทางประกันคนเสื้อแดงทั่วประเทศ 40 คนที่ยังถูกขังอยู่ ณัฐวุฒิเสนออีกว่าต้องปรับวิธีทำงานของคนเสื้อแดง เน้นการขยายมวลชน บอกให้คนเสื้อแดงใจเย็นไปก่อน รอให้แกนนำนปช.กำหนดแนวทาง และมองว่าเราต้องปกป้อง “รัฐบาลของประชาชน”

จตุพร พรหมพันธ์ บอกว่าคนเสื้อแดงต้องปกป้องรัฐบาลเพื่อไทยจากรัฐประหาร อย่างที่เคยเกิดกับรัฐบาลไทยรักไทยและพลังประชาชน จตุพรบอกด้วยว่าฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนยังมีตำแหน่งและลอยนวล เราไม่ควรลืม

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่ออิทธิพล อิทธิพลสื่อ

ตอน ๑. การครอบงำทางอุดมการณ์

คำถามว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อทัศนคติ ค่านิยม หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจเลือกทางการเมืองของประชาชนจริงหรือไม่? อย่างไร ?
เมื่อไปค้นดูในตำรา(Heywood,2002 )ก็พบว่ามีมุมมองในการอธิบายคำถามนี้ผ่านตัวแบบ 4 ตัวแบบ ดังต่อไปนี้

1. ตัวแบบการครอบงำทางอุดมการณ์(The Dominant-Ideology Model)
ตัวแบบนี้เห็นว่าสื่อมวลชนมีผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคมในลักษณะเดียวกับชนชั้นนำ และมีบทบาทส่งเสริมให้ประชาชนยอมจำนนต่อสภาพทางการเมือง นักคิดที่มองสื่อมวลชนตามตัวแบบนี้ ได้แก่ อันโตนีโอ กรัมชี(Antonio Gramsci)

นักคิดเหล่านี้เห็นว่าสื่อมวลชนทำหน้าที่เผยแพร่ความคิดของชนชั้นนำและดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์ของนายทุนผู้เป็นเจ้าของธุรกิจสื่อซึ่งเป็นคนจำนวนน้อย แต่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงโดยอาศัยการเผยแพร่ความคิด ภาพลักษณ์ และค่านิยมเพื่อมุ่งหมายให้เกิดการครอบงำทางอุดมการณ์

ตัวแบบการครอบงำทางอุดมการณ์นี้ได้มีการพัฒนาจนมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ตัวแบบการโฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda Model) โดยข่าวจะถูกบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังรักษาโครงสร้างทางธุรกิจของสื่อมวลชน ตัวแบบนี้จึงมองว่าสื่อมวลชนเป็นเพียงองค์กรทางธุรกิจที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของสื่อเองหรือของผู้ให้การสนับสนุนสื่อเหล่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสื่อสารคืออะไร

ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
เราแปลคำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)

1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วยปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบำบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อนศตวรรษที่ 21

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อเลือกข้าง’ ทำให้สื่อไม่ใช่ ‘สื่อสารมวลชน’

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์

ในยุคที่สังคมเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองจะสำเร็จได้ยากหากไม่ทำควบคู่กันไปกับการปฏิรูปสื่อ ทำไมเราจึงตั้งคำถามน้อยเกินไปต่อตรรกะของ “สื่อเลือกข้าง” เพราะหากเราเชื่อในอุดมการณ์ที่ว่า “ความเป็นกลาง” ในการเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นรอบด้านควรเป็น “จุดยืน” ที่ทำให้สื่อมีความหมายเป็น “สื่อสารมวลชน” ไม่ใช่สื่อของใครหรือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เราย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตั้งคำถามต่อตรรกะของสื่อเลือกข้าง

ยิ่งถ้าเรายังเห็นกันว่า การปฏิรูปสื่อจำเป็นต่อการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนรู้ของสังคมให้กว้างขึ้น หลากหลายขึ้น จำเป็นต่อการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การสร้างวัฒนธรรมวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผล หรือส่งเสริมวิถีชีวิต วิถีสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เรายิ่งจำเป็นต้องตั้งคำถามต่อตรรกะของสื่อเลือกข้างอย่างเอาจริงเอาจัง

ตรรกะของสื่อเลือกข้างที่ตอกย้ำมาตลอดสองสามปีนี้ คือ
1.ไม่มีความเป็นกลางระหว่างถูกกับผิด ดีกับชั่ว ขาวกับดำ จึงเลือกความเป็นกลางไม่ได้ ต้องเลือกอยู่ข้างความถูกต้องหรือความดีเท่านั้น
2.สื่อ หรือใคร/ฝ่ายใดที่ไม่เลือกอยู่ข้างเรา (สื่อเลือกข้าง) แสดงว่าอยู่ตรงข้ามความถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของสื่อมวลชน

ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดภาระความรับผิดชอบต่อสังคมและอิสรภาพจากการครอบงำของธุรกิจ ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งระดับของบทบาทสื่อมวลชนเป็น 5 ระดับ คือ (นิพนธ์ นาคสมภพ: 2549)

(1) ระดับการชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นสื่อมวลชนที่ได้รับการไว้วางใจต่ำสุด เพราะมุ่งรับใช้นักการเมืองหรือนักธุรกิจมากเกินไป หรือมุ่งผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของสื่อมากเกินไป แต่กลับละเลยประชาชน โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อที่ส่งผลเสื่อมเสียต่อวินัยทางศีลธรรม วินัยทางการเงิน และวินัยทางสังคมของประชาชน

(2) ระดับการบริการข่าวสาร (News & Information service) จัดเป็นการสื่อสารของเอกชน (Private Communication) มุ่งเสนอข่าวสารทั่วไป บางครั้งทำให้ขาดการคัดเลือกคุณค่าทางจริยธรรมไปบ้าง เพราะมุ่งเรื่องการค้าเป็นหลัก

(3) ระดับมาตรฐาน (Standard) เป็นสื่อมวลชนที่รับผิดชอบต่อกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมสูง มีส่วนในการสร้างสรรค์สังคม ไม่มุ่งเพื่อการค้าอย่างไม่รับผิดชอบ

(4) ระดับวิชาชีพ (Professionalism) เป็นสื่อมวลชนที่รับผิดชอบต่อสังคมถึงระดับคุณธรรม ศีลธรรม มีความกล้าหาญทางคุณธรรมสูง มีอำนาจมีอิสระเสรีภาพ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระบวนทัศน์ด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสื่อจากอดีตถึงปัจจุบัน

โดย รศ. ดร. ปาริชาติ สถาปิตานนท์

เหลียวหลัง…แลหน้า : การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

นับเป็นเวลากว่าสี่ทศวรรษแล้วที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ได้พยายามนำกระบวนการสื่อสารมาประยุกต์ใช้อย่างจงใจในฐานะ “เครื่องมือ” ในการเปลี่ยนแปลงสังคม

ในยุคแรกของใช้กลไกด้านการสื่อสารในฐานะเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคม ได้มุ่งเน้นการใช้การสื่อสารในการ “ขับเคลื่อน” สังคมต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การก้าวสู่สังคมทันสมัยตามแบบฉบับของสังคมตะวันตกนั่นเอง โดยกรอบแนวคิดดังกล่าว รู้จักกันในนามของ “กระบวนทัศน์ความทันสมัยนิยม” ของการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง (The Modernization Paradigm of Communication for Social Change)

ในเชิงหลักด้านการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้กระบวนการทัศน์ความทันสมัยนิยม กล่าวกันว่า การสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ การสื่อสารเป็นเงื่อนไขสำคัญ หรือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย โดยยิ่งมีการสื่อสารมากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลให้สังคมเปลี่ยนแปลงมากเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศาลอาญาระหว่างประเทศกระทบเขตอำนาจศาลไทยหรือไม่

โดย สราวุธ เบญจกุล

ปัจจุบันมีการกระทำที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้นในสังคมประชาคมโลกมากมาย เช่น เมื่อเกิดสงครามก็อาจมีการนำเอาเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ไปเป็นทหารในกองกำลังและให้สู้รบในสงคราม การใช้กำลังทางทหารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของพลเมืองที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การกักขังและลงโทษบุคคลที่มีแนวความคิดตรงกันข้ามกับกลุ่มพวกพ้องของตนอย่างไม่เป็นธรรม หรือแม้กระทั่งการค้ามนุษย์ ซึ่งอาชญากรรมเหล่านี้มีลักษณะเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นสากล และยังถือเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติอย่างร้ายแรงที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

จากแนวคิดดังกล่าว ที่ประชุมทางการทูตขององค์การสหประชาชาติ (UN Diplomatic Conference) จึงได้มีข้อสรุปให้ใช้ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นมา หลังจากมีการให้สัตยาบันของ 60 ประเทศ ในขณะนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีรัฐที่เป็นภาคีสมาชิกทั้งหมด 116 รัฐ โดยมี 15 รัฐมาจากภาคพื้นทวีปเอเชีย ในส่วนของประเทศไทยได้มีการลงนามรับรองในธรรมนูญกรุงโรมฯ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการให้สัตยาบัน

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) ถูกจัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญกรุงโรมฯ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้จากสถิติที่ปรากฏตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2545 ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับคำร้องขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องมากกว่า 8,733 คำร้อง จาก140 ประเทศ โดยคำร้องส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมันนี รัสเซีย และฝรั่งเศส

ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีโดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในรัฐภาคี และรัฐอื่นที่ยอมรับอำนาจของศาล และมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคลได้ แต่มีข้อจำกัดคือ สามารถพิจารณาเฉพาะอาชญากรรมที่กำหนดไว้ใน ธรรมนูญกรุงโรมฯ อันได้แก่

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณของสื่อ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงจรรยาบรรณของสื่ออันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์กันก่อน ในที่นี้ได้กล่าวถึงจรรยาบรรณสื่อโดย *อ้างอิงจาก “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน” เอกสารการสอน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 9-15) ดังนี้
1.จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์โดย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
โดยได้กำหนด “จริยธรรมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2510 ไว้ดังนี้
• ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)
• ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)
• ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
• ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสื่อสารคืออะไร ?

ทฤษฎีการสื่อสาร คือ การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่ ผล อิทธิพล การใช้ การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์

เราแปลคำนี้มาจากภาษาอังกฤษที่ว่า communication theory ซึ่งมีความหมายครอบคลุมกว้างขวาง รวมไปถึง theory of communication (ทฤษฎีของการสื่อสาร) theories in communication (ทฤษฎีในการสื่อสาร) theories for communication (ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร) และ theories about communication (ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร)

1. ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เริ่มด้วยปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์ ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบำบัดของฟรอยด์ รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่ แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโตที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย ในช่วง 20 ปี ก่อนศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"ความเหลื่อมล้ำ-ไม่เป็นธรรม"ในกระบวนการยุติธรรมไทย

ปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย

เมื่อวันพุธที่ 17 ส.ค. ได้มีการปาฐกถาเรื่อง "ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย" โดย ผศ.ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย.ดร.จุฑารัตน์กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม เกิดจากความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่เริ่มแรก "ใครมีอำนาจทางเศรษฐกิจ-มีอำนาจทางสังคมก็เป็นผู้ที่สร้างความเหลื่อมล้ำกับ ผู้ที่ไม่มีอำนาจ" รวมถึงความแตกต่างระหว่างอำนาจในเชิงพื้นที่ทางสังคม

"โดยนิยามแล้ว ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมก็คือความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มี โอกาสกับผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งโอกาสในที่นี้ก็คือโอกาสในการเข้าถึงและจัดการกลไกต่างๆ โดยเฉพาะกลไกภาครัฐ อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพ.ร.ก.ดังกล่าวนั้นเขียนไว้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นกระทำการใดๆ ประชาชนไม่มีสิทธิไปฟ้องศาลปกครองว่าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิด ซึ่งนี่เป็นการตัดสิทธิทางศาลปกครอง เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้จะถูกตัดโอกาสในการเข้าถึงการเรียกร้องความเป็นธรรม"

ภาวะผู้นำ

การศึกษาภาวะผู้นำอย่างมีระบบได้ดำเนินการต่อเนื่องมาร่วมร้อยปี เกิดมุมมองและความเชื่อต่าง ๆ ที่พัฒนามาเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำ จำนวนมากมาย ในที่นี้จะแบ่งเป็นกลุ่มทฤษฎีและยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางทฤษฎี เริ่มด้วยทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ กลุ่มทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ตัวอย่างบางทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำเชิงวีรบุรุษ หรือภาวะผู้นำใหม่โดยเสน่หาบางทฤษฎี และประเด็นที่เป็นแนวโน้มที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในอนาคต

ความหมายของภาวะผู้นำ
มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า "leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะผู้นำ" หรือ "การเป็นผู้นำ" กับอีกคำหนึ่งคือ "Management" ซึ่งเรียกว่า "การบริหาร" หรือ "การบริหารจัดการ" ทั้งสองคำ มีความหมายแตกต่างกัน โดยมีนักวิชาการคนสำคัญให้ทัศนะไว้ ดังนี้

คอตเตอร์ (Kotter, 1999) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวไว้ว่า การบริหารจัดการ (Management) หมายถึง ความสามารถ ในการเผชิญกับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนได้ การบริหาร จัดการที่ดีทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในแง่ มีแผนงานที่เป็น ทางการ มีโครงสร้างขององค์การที่แน่นอนชัดเจน และมีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน ส่วนภาวะผู้นำหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต จากนั้นจึงจัดวางคนพร้อมทั้งสื่อความหมายให้เข้าใจ วิสัยทัศน์และ สร้างแรงดลใจแก่คนเหล่านั้น ให้สามารถเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อตกลงระหว่างเพื่อไทยกับอำมาตย์

ใจ อึ๊งภากรณ์

เราเริ่มเห็นภาพของ “ข้อตกลง” ไม่ว่าจะทางการหรือไม่ ระหว่างอำมาตย์กับพรรคเพื่อไทย เพื่อให้พรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลได้ และเพื่อให้แกนนำเพื่อไทยถูกกลืนกลับไปเป็นพรรคพวกของอำมาตย์เหมือนเดิม เพราะพรรคไทยรักไทยในอดีตก็เคยเป็นพวกเดียวกับอำมาตย์ก่อนที่จะทะเลาะกัน

อำมาตย์กีดกันไม่ให้เพื่อไทยตั้งรัฐบาลยาก เพราะเสียงประชาชนชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยแสดงความยินยอมที่จะ “ปรองดอง” แบบยอมจำนนต่ออำมาตย์ เพื่อแลกกับการไม่ถูกล้ม โดยการสัญญาว่าจะไม่เปลี่ยนอะไรมากมายในสังคมไทย สรุปแล้วในอดีตเราเห็นรัฐประหาร ๑๙ กันยา ตามด้วยรัฐประหารผ่านศาล และปัจจุบันเราเห็นรัฐประหารที่สาม ผ่านการกดดันและการปรองดองจอมปลอม และผ่านการหักหลังเสื้อแดง

ลองมาพิจารณาประเด็นสำคัญๆ เช่น กรณี 112 กรณีภาคใต้ กรณีคดีการเมืองเนื่องจากการชุมนุม และกรณีทหาร

คดี 112
๕ สิงหาคม ตำรวจจับนักศึกษาที่พึ่งจบจากม.เกษตร นรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ในข้อหา 112 เพราะดาวน์โหลดข้อความจากอินเตอร์เน็ท นักศึกษาคนนี้โดนฟ้องโดยเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเองคือ นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศา​สตร์ ฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้มาแจ้งความดำเนินคดี

เสื้อแดงกับ ครม. ใหม่

ใจ อึ๊งภากรณ์

นักการเมืองพรรคเพื่อไทยจำนวนมากคงมองว่าการแต่งตั้งแกนนำเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ “จะสร้างภาพไม่ดี” ก็คงจริงถ้าคิดว่า “ภาพที่ดีของ ครม.” คือภาพของผู้ที่จะไม่ทำอะไรเลยเพื่อพัฒนาสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

การทื่ ครม. ใหม่มีคนอย่าง เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งเป็นนักการเมืองรูปแบบเก่าที่มีภาพเป็นนักเลง เป็นต้นตำรับการสร้างสองมาตรฐานทางกฏหมายในกรณีลูกชายอันธพาล และหลายคนมองว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด สร้างภาพอะไร?

ผมไม่รู้จัก พล อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม เขาอาจเป็นคนดีที่รักประชาธิปไตยก็ได้ ผมไม่ทราบและไม่วิจารณ์เขาเป็นส่วนตัว แต่คำถามคือ เมื่อไรประเทศไทยจะสร้างวัฒนธรรมที่รัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นพลเรือน? เมื่อไรจะต้องมีการลาออกจากตำแหน่งทางทหารหรือตำรวจ ก่อนที่จะมาเป็น สส. หรือรัฐมนตรีได้? เรื่องนี้สำคัญเพราะถ้าเราจะมีประชาธิปไตย และประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริง ทหารต้องถูกบังคับให้ยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง และกองทัพต้องรับใช้ประชาชนผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ไม่ใช่ว่ากองทัพรับใช้ผลประโยชน์ตนเองแล้วมาอ้างว่าทำ “เพื่อกษัตริย์” โดยปิดปากคนที่คัดค้านด้วยกฏหมาย 112

การสร้างภาพของ ครม. และรัฐบาลใหม่ นอกจากจะมีเรื่องบุคคลที่นั่งเก้าอี้แล้ว ยังมีภาพประธานสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ที่ต้องคลานเข้าไปหาคนที่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง ในประเทศอังกฤษ เวลาราชินีเปิดสภา ราชินีถูกบังคับให้อ่านนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นกลางคือ “ความชอบธรรม” หรือจะเป็นแค่วาทกรรมแห่งยุคสมัย

เมื่อมีสถานการณ์ขัดแย้งเกิดขึ้น ก็จะเกิดคู่กรณีสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายก็เรียกร้องหาความเป็นธรรมให้แก่ฝ่ายตน ประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายปริมาณ ก็จะอ้างเอามวลชนและปริมาณมาสร้างความชอบธรรม (พวกมากลากไป) ส่วนประชาชนที่อยู่ข้างฝ่ายคุณภาพ ก็จะอ้างเอาคุณภาพ ฐานะ ชนชั้น (นักวิชาการ นักธุรกิจ นักปราชญ์) มาสร้างความชอบธรรม นี่คือประเด็นความขัดแย้งที่หาจุดประนีประนอมกันได้ยาก

สถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ มีสาเหตุมาจากการเบียดเบียนกันเองของคนในสังคมนั้น และเกิดจาก โครงสร้างของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีสภาพบิดเบี้ยว ไม่สมประกอบ เกิดการทุจริตคอรัปชั่น การค้นหาต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว จะต้องกระทำอย่างรอบคอบ มองให้รอบถ้วน เซาะให้ถึงรากเหง้าของปัญหา ด้วยการนำข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantity fact) และเชิงคุณภาพ (Quality fact) มาร่วมพิเคราะห์พิจารณาด้วย อย่ามองเพียงแง่มุมเดียว หรือเพียงด้านเดียว มิฉะนั้นถ้าตัดสินลงไป ก็จะเกิดความไม่ธรรม หรือขาดความเป็นกลางทันที นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้แล้ว เท่ากับจุดไฟให้ข้อขัดแย้งมันรุนแรงขึ้น

นี่เป็นเรื่องปกติของสังคมมนุษย์ที่ยังมีความเห็นแก่ตัว มีความเชื่อ ความคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้สังคมเกิดความไม่สงบสุข และแสวงหาเรียกร้องความยุติธรรม บุคคลที่จะทำหน้าที่ตัดสินปัญหา จะต้องเป็นคนกลาง ที่ไม่มีส่วนได้เสียในผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย และต้องกล้าตัดสินหรือชี้นำ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

National Power ยังหลงเหลืออยู่แค่ไหน?

ความหมายของ National Power ก็คือพลังอำนาจของชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เอามาใช้ในทางยุทธศาสตร์ ผู้ริเริ่มเอามาใช้เป็นคนแรกในปลายศตวรรษที่ 15 ได้แก่ นิโคโล มาเคียเวลลี่ ซึ่งเป็นทั้งนักการทหารและนักปรัชญาชาวอิตาลี...พลังอำนาจของชาติในช่วงที่มาเคียเวลลี่นำเสนอ เขาได้จัดเป็นองค์ประกอบ 3 ประการคือ การเมือง สังคม และการทหาร กระทั่งต่อมามีการเพิ่มเติมโดยคาร์ล วอน เคลาสวีทซ์ ผู้เป็นซุนหวู่แห่งตะวันตก โดยเพิ่มพลังอำนาจของชาติในทางด้านเศรษฐกิจเข้ามาเป็นองค์ประกอบต่อการทำสงครามอีกปัจจัย

เรื่องพลังอำนาจของชาติ แม้จะเริ่มต้นมาจากหลักการดังกล่าว แต่ได้มีการพัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันยุทธศาสตร์ชาติให้ดำเนินไปถึงการบรรลุวัตถุประสงค์และการรักษาผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นมาถกเถียงอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบัน ตลอดเวลาของความขัดแย้งเราคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพลังอำนาจของชาติได้กร่อนสลายลงไปถึงจุดวิกฤตที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยบรรดาผู้ปกครองและผู้อยู่ในอำนาจทั้งหลายยังไม่ได้ตระหนัก หรืออาจจะไม่มีสำนึกในเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป?

ประเด็นของการเมืองเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สุดเมื่อเราจะเขียนถึงพลังอำนาจของชาติ ตรงนี้คงไม่ต้องตั้งคำถามอะไรว่า “ปัจจัยทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาลไทยมีทิศทางและความเป็นไปอย่างไรกันแน่? เมื่อการเมืองอยู่ในสภาพไม่มั่นคง ผลกระทบที่จะเชื่อมโยงเข้าไปถึงปัจจัยที่เป็นพลังอำนาจของชาติในด้านอื่นๆย่อมได้รับผลประทบ และตกต่ำเป็นโดมิโนไปด้วย? ประเด็นต่อมาเราก็ต้องเข้าใจว่าเศรษฐกิจก็ถือเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ชาติบ้านเมืองที่ไม่มีความมั่งคั่ง ไม่มีเงินทองจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินจะกลายเป็นชาติบ้านเมืองที่มีความเข้มแข็งได้อย่างไร? เรื่องของเศรษฐกิจยังกระทบไปสู่เรื่องการทหาร โดยการทหารก็ยังเป็นพลังอำนาจของชาติที่สืบเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ ถามว่าเมื่อการเมืองไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของบ้านเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร? แล้วในด้านการทหารจะเอาเงินทองจากที่ไหนเพื่อซื้อหาอาวุธ สร้างเขี้ยวเล็บให้ทหารได้กลายเป็นพลังอำนาจของชาติที่มีศักยภาพในการต่อรอง ซึ่งขุนศึกทั้งหลายต่างก็ใฝ่ฝันกัน?

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จลาจลที่อังกฤษมีผลจากนโยบายทางการเมืองในยุควิกฤต

กองบรรณาธิการ นสพ.เลี้ยวซ้าย

การจลาจลเมื่อเดือนสิงหาคมนี้ในเมืองต่างๆ ของอังกฤษ เป็นผลของนโยบายรัฐบาลแนวร่วมพรรคอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยม ที่ใช้กลไกตลาดเสรีสุดขั้ว เพื่อตัดงบประมาณรัฐ โดยอ้างว่า “ต้อง” ลดหนี้สาธารณะเพื่อรักษา “วินัยทางการคลัง” คำพูดเรื่องวินัยทางการลังนี้ เรามักได้ยินออกมาจากปากนักการเมืองเสรีนิยมอย่างอภิสิทธิ์และกรณ์โดยเฉพาะเวลารัฐบาลไทยรักไทยใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาสถานภาพคนจน แต่เมื่อมีการเพิ่มงบประมาณทหารสองเท่าหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ไม่มีใครพูดอะไร

ในกรณีอังกฤษหนี้สาธารณะไม่ได้สูงเป็นประวัติศาสตร์ตามที่รัฐบาลอ้าง เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สองสูงกว่านี้สองเท่า และเขายังสร้างรัฐสวัสดิการได้ และที่สำคัญหนี้สาธารณะที่ขยายตัวตอนนี้มาจากการเอาเงินประชาชนไปอุ้มธนาคารที่เต็มไปด้วยหนี้เสียจากการปั่นหุ้น แต่ไม่มีรัฐมนตรีหรือนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักคนไหนที่เสนอว่าต้องไปเก็บคืนจากนายธนาคารและคนรวยที่เคยได้ดิบได้ดีจากการเล่นหุ้น

รัฐบาลแนวร่วมพรรคอนุรักษ์นิยม-เสรีนิยมอังกฤษ ตัดการบริการสาธารณะ ตัดตำแหน่งงาน ตัดรัฐสวัสดิการ ทำลายชีวิตและอนาคตของเยาวช​น มีการตัดทุนเพื่อการศึกษาของวัยรุ่นและตัดศูนย์วัยรุ่นอีกด้วย หลายคนคาดว่าคงจะเกิดเหตุจลาจลในไม่ช้า แต่นักการเมืองตอนนี้ทำเป็น “ตกใจ”

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง

หนังสือของ Lucian Pye ชื่อ Aspects of Political Development ซึ่ง Pye ได้พยายามสรุปแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองซึ่งมีอยู่ 10 แนวความคิด (ซึ่งได้เก็บความตามที่จะกล่าวข้างล่างนี้) โดยการสังเคราะห์และออกมาในรูปของ Development Syndrome หรือพหุภาพแห่งการพัฒนา

แนวความคิดต่าง ๆ 10 แนวคิด และพหุภาพแห่งการพัฒนามีดังนี้คือ
1. การพัฒนาการเมือง คือ รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ (Political Development as the Political Prerequisit of Economic Development) เมื่อมีการสนใจเกี่ยวกับปัญหาความเจริญทางเศรษฐกิจและมีความจำเป็นที่จะแปรรูปของเศรษฐกิจที่หยุดนิ่ง เพื่อเป็นเศรษฐกิจที่เจริญได้ในระดับสม่ำเสมอ นักเศรษฐศาสตร์ก็กล่าวโดยพลันว่าสภาพทางการเมืองและสังคมจะมีบทบาทอย่างแน่วแน่ในการขัดขวางหรือเอื้ออำนวยต่อการเพิ่มขึ้นในรายได้เฉลี่ยต่อหัว และดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมที่จะคิดว่า การพัฒนาการเมืองคือสภาพของระบบการเมืองซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี เมื่อมาใช้ในการวิจัย คำจำกัดความการพัฒนาการเมืองดังกล่าวมีลักษณะในทางลบ เพราะว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะพูดอย่างชัดแจ้งว่า ระบบการเมืองได้ขัดขวางความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง แต่เป็นการยากที่จะพูดว่า ระบบการเมืองได้ช่วยให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างไร เพราะตามประวัติศาสตร์นั้น ความเจริญทางเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นในระบบการเมืองหลายระบบและด้วยนโยบายที่ต่างกัน อันนี้นำไปสู่การคัดค้านต่อคำจำกัดความพัฒนาการเมืองดังกล่าว เนื่องจากว่า คำจำกัดความนั้นไม่ได้มีทฤษฎีร่วมกันเพราะในบางกรณีจะมีความหมายเพียงว่า รัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ส่วนในสถานการณ์อื่นนั้นอาจจะเกี่ยวพันถึงการพิจารณาองค์การขั้นมูลฐานของรัฐและการปฏิบัติของสังคมทั้งมวล ดังนั้นปัญหาเรื่องการพัฒนาการเมืองจึงแตกต่างกันตามความแตกต่างกันทางปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจาะข้อเท็จ-จริง ทฤษฎีวันโลกแตก!

ณอร อ่องกมล

กระแสข่าวลือ-ข่าวลวง-ข่าวเขย่าขวัญ ทำนองว่า
'โลกมนุษย์' จะถึงคราวดับสูญไปในปีนั้น ปีนี้ หรืออนาคตอันใกล้อีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็ยังคงมีให้ได้เห็นได้ยินอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะใน 'โลกไซเบอร์' รวมถึงอีเมล์ลูกโซ่ ที่มีมือมืดพยายามปั่น 'ทฤษฎีโลกแตก' สารพัดชนิด ทั้งในแง่มุมวิทยาศาสตร์ เช่น สนามแม่เหล็กโลกกลับขั้ว มุมภูตผีปีศาจเหนือธรรม ชาติ หรือพยากรณ์กันตามปฏิทินมายา ออกมาเขย่าให้ผู้คนหวาดผวาอยู่เป็นระยะๆ

อย่างล่าสุด ก็ลือกันทั่วอินเตอร์เน็ตว่า โลกอาจจะแตกในปี ค.ศ.2012 หรือพ.ศ. 2555?

ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่เมื่อปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา แวดวงวิชาการไทยได้ต้อนรับศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง 'โจเซลิน เบล เบอร์เนล' นักดาราศาสตร์หญิงชั้นแนวหน้า ชาวอังกฤษ สาขาดาราศาสตร์วิทยุ จากมหา วิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ซึ่งเดินทางมาร่วมประชุมวิชาการสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (APRIM 2011) จัดโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวคือ สิทธิมนุษยชน

ศราวุฒิ ประทุมราช

"พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย สู่สถาบันกษัติริย์อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้คัดค้าน จึงเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว (กรณีนายโจ กอร์ดอน (Joe Gordon) หรือชื่อไทย เลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสัญชาติไทย-อเมริกัน)

นี่คือตัวอย่างหนึ่งของเหตุผล โดยทั่วไปที่ศาลมักจะไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐหรือคดีที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ประกอบ มาตรา 108/1 ที่มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ ประกอบด้วย ได้แก่

(1) ความหนักเบาแห่งข้อหา
(2) พยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วมีเพียงใด
(3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
(4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
(5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
(6) ภัยอันตรายหรือความเสียหาย ที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
(7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับประกอบการวินิจฉัยได้

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

3 สัปดาห์หลังการเลือกตั้ง ทำไมอภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือดยังเป็นนายก?

ใจ อึ๊งภากรณ์

สามสัปดาห์หลังการเลือกตั้ง แต่ไม่มีรัฐบาลใหม่ที่มาจากเสียงประชาชน และอภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือดยังเป็นนายก ปรากฏการณ์นี้ตรงข้ามกับหลักการประชาธิปไตยพื้นฐาน

กกต. ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยอำมาตย์และประกอบไปด้วยคนที่ไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย “เสือก” ในเรื่องของผลการเลือกตั้ง และพวก “ข้าราชการ”รับใช้อำมาตย์เหล่านี้ คิดว่าตัวเองมีความสำคัญมากกว่าประชาชนไทยหลายล้านคนที่ลงคะแนนเสียง มันขัดกับหลักการว่าอำนาจอธิปไตยต้องอยู่กับบวงชนพลเมืองไทยโดยสิ้นเชิง และมันเป็นการสืบทอดความคิดดูหมิ่นพลเมืองว่า “ไม่มีวุฒิภาวะ” ที่จะเลือกรัฐบาลหรือ สส. เอง โดยไม่มี “ผู้รู้ชนชั้นกลาง” มาคอยกรอง นี่คืออคติที่นำไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยาแต่แรก และวิกฤตการเมืองเรื้อรังของไทย

ในระบบการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ควรเปิดสภาทันทีและตั้งรัฐบาล กกต. ไม่ควรมีสิทธิ์อะไรที่จะรับรอง สส. เลย แต่ถ้าพบภายหลังว่า สส. คนไหนโกงการเลือกตั้งจริงๆ ก็ควรจะปลดออกหลังการตั้งรัฐบาลและการเปิดสภา แล้วนำบุคคลเหล่านั้นมาขึ้นศาล แต่กฏหมายและรัฐธรรมนูญไทยไม่ได้ใช้แนวคิดประชาธิปไตย เน้นความสำคัญของชนชั้นนำมากกว่า นี่คือเรื่องที่ต้องรีบเปลี่ยน

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฏิวัติระบบครอบครัว ปลูกฝังอบรมวินัยครั้งใหญ่

พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

วันที่ 21 กรกรกฎาคม ในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ปี 2554 ที่จัดโดย 20 เครือข่ายสมัชชาคุณธรรม ประกอบด้วยหน่วยงานองค์กรอิสระภาคเอกชน เครือข่ายด้านคุณธรรมจริยธรรม ภาคประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ มีการจัดกิจกรรมเวทีย่อย เทศนาธรรม หัวข้อ “สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง” โดย พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก และพระมหาสมปอง ตาลปุตโต วัดสร้อยทอง

พระมหาสมปอง กล่าวถึงการสร้างชาติโปร่งใส หรือต้านคอรัปชั่น จะสำเร็จได้ ประเทศต้องมีความสามัคคี และช่วยกันทำความดี แบบที่ไม่ต้องเกรงใจใคร ขณะที่ผู้หลักผู้ใหญ่ ก็ควรดำเนินตามแนวทาง 4 ประการ ได้แก่ 1.นิยมกระจายอำนาจ 2.ผู้นำควรนั่งอยู่ในใจคน 3.เพื่อนร่วมงานควรจะเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และ 4.พ่อแก้วแม่แก้วลูกขวัญ คือ พ่อแม่ต้องเป็นที่พึ่ง อย่าให้งานสำคัญกว่าครอบครัว

พระมหาสมปอง กล่าวถึงธรรมะ 3 หลักใหญ่ ได้แก่ การ “ครองตน ครองคน และครองงาน” สำหรับการครองตน ทำได้การซื่อสัตย์ ที่ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว หลังจากนั้นขยับไปในระดับองค์กร นักการเมืองที่กำลังจะเข้าไปก็ต้องซื่อสัตย์ด้วย,การข่มใจต่อกิเลส ไม่ยั่วยุให้ทุจริตคอรัปชั่น อย่าไปเชื่อในกิเลส,.ขันติ ความอดทน ที่แม้จะเหนื่อย ทรมานในการทำ แต่ผลของการทำจะหอมหวานชื่นใจ และมีระเบียบวินัย ในทุกระดับ

ตายฟรีเพื่อการ "เกี้ยเซี้ย" ของชนชั้นนำ (?)

โดย สุรพศ ทวีศักดิ์

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2554)
คงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง หากการเลือกตั้งมีความหมายเพียงแค่เป็น "ทางผ่าน" ไปสู่การ "เกี้ยเซี้ย" ของกลุ่มอำนาจจารีตกับกลุ่มอำนาจทางการเมืองภายใต้ "วาทกรรมปรองดอง" ที่ไม่มีคำตอบเรื่อง "ความยุติธรรม" แก่ 91 ศพ คนบาดเจ็บ พิการ และไม่มีคำตอบต่อ "การเปลี่ยนผ่าน" สังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย

เพราะผลการเลือกตั้งชี้ชัดว่า ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธรัฐประหารและต้องการประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยไม่ได้หมายความว่าประชาชนเลือกรัฐบาลมาแล้วรัฐบาลจะทำอะไร จะขยับซ้าย ขวา ก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังตลอดเวลาว่า "เสียงส่วนน้อย" จะเอาอย่างไร

"เสียงส่วนน้อย" ที่ว่านี้คือ อำนาจพิเศษ กองทัพ นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อที่เสียงดังกว่า เพราะมีอำนาจ มีช่องทางการส่งเสียงมากกว่า และเสียงที่พวกเขาส่งออกมาภายใต้ "วาทกรรมปรองดอง" ก็คือ ข้อเรียกร้องให้ลืมเรื่องเก่า ให้ทำสิ่งที่ดีๆ ใหม่ๆ ให้ทักษิณเสียสละตัวเอง ไม่ต้องกลับประเทศไทย ไม่ต้องพูดถึงการนิรโทษกรรม แม้กระทั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ส่งเสียงออกมาว่า การสลายการชุมนุมด้วย "กระสุนจริง" ที่มีคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บร่วมสองพันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้ม 7 ประการหลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554

ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(20 ก.ค.54) ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาโต๊ะกลม "วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่" ดำเนินรายการโดย สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา สะท้อนความต่อเนื่องของเทรนด์บางประการของระบบการเมืองและการเลือกตั้งไทย ตั้งแต่หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา โดยมีแนวโน้ม 7 ประการ ได้แก่ 1) มุ่งสู่ระบบสองพรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน แม้จะมีการเปลี่ยนไปใช้รัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อทำลายระบบสองพรรคการเมืองใหญ่และความเข้มแข็งพรรคการเมือง

2) แม้ว่าจะมี 2 พรรคการเมืองใหญ่ แต่การแข่งขันระหว่าง 2 พรรคไม่สูสี ตั้งแต่ก่อนใช้รัฐธรรมนูญ 40 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แพ้การเลือกตั้ง 6 ครั้งต่อเนื่อง ขณะที่การเลือกตั้งที่ผ่านมาทั้งสองครั้ง ปชป.ไม่เคยได้ที่นั่งเกิน 165 ขณะที่จุดที่เลวร้ายที่สุดของพรรคเพื่อไทย (พท.) ยังมี 233 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่าจุดที่ ปชป.ทำได้สูงสุด ดังนั้น ช่องว่างของ 2 พรรคใหญ่ มีถึง 80 ที่นั่งเป็นอย่างต่ำ โดยเทรนด์นี้เกิดตั้งแต่ 2544

ชาตินิยม พลโลก

Horachio Nea

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย หรือสนธิสัญญาโอสนาบรึคและมึนสเตอร์ (เยอรมัน: Westfälischer Friede, อังกฤษ: Peace of Westphalia หรือ Treaties of Osnabrück and Münster) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองโอสนาบรึค และต่อมาในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองมึนสเตอร์

สัญญาสันติภาพที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส เป็นการยุติสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสงครามแปดสิบปีระหว่างสเปน สาธารณรัฐดัตช์ และรัฐทั้งเจ็ด ผู้เข้าร่วมในการสร้างสัญญาสันติภาพ ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ฮับส์บวร์ก) ราชอาณาจักรสเปน ฝรั่งเศส สวีเดน สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย

สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย เป็นผลของการประชุมทางการทูตสมัยใหม่ และถือเป็นการเริ่มวิถีการปฏิบัติสมัยใหม่ (New Order) ของยุโรปกลางในบริบทของรัฐเอกราช กฎที่ปฏิบัติของสัญญาสันติภาพ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สนธิสัญญาพิเรนีสที่ลงนามกันในปี ค.ศ.1659 ในการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปน ปี ค.ศ. 1635 ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาสันติภาพ (วิกิพีเดีย) นับแต่นั้น โลกก็เข้าสู่สังคมระหว่างประเทศสมัยใหม่ การพัฒนาการในการเมืองระหว่างประเทศผ่านการทดสอบมามากทั้งในเรื่องความร่วมมือประสานประโยชน์ และความขัดแย้ง

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปฐมเทศนากับ “วิถีจริยธรรมแบบพุทธ”

สุรพศ ทวีศักดิ์

วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา แทนที่จะถามกันว่าชาวพุทธนิยมทำบุญ สวดมนต์มากขึ้นหรือน้อยลง ควรฟื้นฟูการสวดมนต์หน้าเสาธงหรือไม่ เราควรจะทบทวนหน่อยไหมว่าเทศนาครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าแสดงในวันนี้นั้น เป็นการวางระบบ “วิถีจริยธรรมแบบพุทธ” อย่างไร

เป็นที่เข้าใจกันว่า พระพุทธเจ้าวิพากษ์วิถีจริยธรรม 2 แนวทางว่า เป็น “ทางสุดโต่ง” ไปคนละด้าน กล่าวคือ

1) สุดโต่งในทางตอบสนองความต้องการ ทางวัตถุ ทางเนื้อหนังร่างกายโดยถือว่า เมื่อตอบสนองความต้องดังกล่าวอย่างเต็มที่จะทำให้บรรลุนิพพาน แต่พระพุทธองค์วิจารณ์วิถีชีวิตเช่นนี้ว่า เป็น “กามสุขัลลิกานุโยค” หรือเป็นการหมกมุ่นปรนเปรอความต้องการของอัตตามากไป ไม่อาจทำให้พ้นทุกข์ได้

2) สุดโต่งในทางเผด็จการกับชีวิตของตนเองมากไป ด้วยการคิดว่าเนื้อหนังร่างกายเป็นบ่อเกิดของกิเลสตัณหา ดังนั้น ต้องทรมานให้ร่างกายได้รับความลำบากจนถึงที่สุดจึงจะทำให้พ้นทุกข์ได้ แต่พระพุทธเจ้าวิจารณ์ว่า แนวทางดังกล่าวเป็น “อัตตกิลมถานุโยค” คือ การทำตัวเองให้ทุกข์ทรมานเปล่า ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครองของไทยจะไปทางไหน ?

การเมืองการปกครองเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อมนุษย์ เพราะเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ คือ ถ้าไม่อยู่ในฐานะผู้ปกครองก็จะอยู่ในฐานะผู้ถูกปกครอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองตามอัตภาพของตน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ได้และมีประโยชน์ต่อสังคมและการเรียนรู้ทางการเมืองก็มิใช่ว่าจะเรียนได้เฉพาะที่จัดไว้เป็นหลักสูตรในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ยังสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวอีกหลายทาง เช่น จากตำรา สื่อสารมวลชน วารสารประชาสัมพันธ์ ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อนและที่ทำงานเป็นต้น

ความหมายการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองหรือรัฐศาสตร์หรือศาสตร์แห่งรัฐ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Political Science เป็นคำศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาการเมืองการปกครองโดยเฉพาะ นักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ทั้งหลายอาจจะแยกวิชาการนี้ออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

ประการหนึ่งมีลักษณะเป็นศาสตร์ (Science) คือเป็นความรู้ทางวิชาการด้านการเมืองการปกครอง ประการที่สองมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) วิชารัฐศาสตร์จึงกลายเป็นวิชาที่ประยุกต์เอาลักษณะที่เป็นศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน แล้วนำเอาวิชาการนี้มาใช้ปกครองประเทศ และในขณะเดียวกันวิชาการเมืองการปกครองนี้อาจจะถูกบุคคลบางกลุ่มมองภาพในทางที่ไม่ดี คือ อาจจะมองไปว่าการเมืองการปกครองเป็นเรื่องสกปรก โหดร้ายทารุณ เข่นฆ่า มุ่งหาผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นเรื่องของคนมีเงิน มีการศึกษาและคนที่ใฝ่หาความเป็นใหญ่ แต่สภาพที่เป็นจริงแล้วการเมืองการปกครองเป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคมจะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ ไม่เป็นเรื่องที่น่ากลัวหรือเลวร้ายอย่างที่ว่า ถ้ามีความเข้าใจที่ดีและนำมาใช้ให้ถูกต้องตามกระบวนการ เพราะวิชาการเมืองการปกครองนั้น เป็นศาสตร์และเป็นศิลป์ที่ผู้ปกครองประเทศจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนในประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดังนั้นเพื่อที่ให้ผู้ศึกษาได้รู้ความหมายอันลึกซึ้งของรัฐศาสตร์ จึงขอนำเอาคำนิยามของนักปราชญ์ทางรัฐศาสตร์ทั้งหลายมากล่าวดังต่อไปนี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

" ทาง 3 แพร่งที่ "ยิ่งลักษณ์" ต้องเจอ หนักกว่าทักษิณ

ปาฐกถา "เกษียร เตชะพีระ"


"รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณคงต้องรอมชอมกับชนชั้นนำเก่า
และเอาใจมวลชน เสื้อแดงไปพร้อมกัน
แต่หากต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณน่าจะโน้มไปทางรอมชอมกับชนชั้นนำเก่า"

วันที่ 8 กรกฎาคม รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ "บ้านเมืองเรื่องของเรา" วิพากษ์สังคมและการเมืองไทย พร้อมวิพากษ์แนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ในงานสัมมนา “ขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้บริบท เศรษฐกิจ สังคม ยุครัฐบาลใหม่” ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์

รศ.ดร.เกษียร กล่าวว่า ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา สังคมการเมืองไทยกำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ซึ่งมีทิศทางหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1.การเปลี่ยนย้ายอำนาจในหมู่ชนชั้นนำ จากชนชั้นนำตามประเพณีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไปสู่ชนชั้นนำทางธุรกิจการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง (Power shift among the elites:From the unelected traditional elite  the elected political business elite) แสดงออกเป็นรูปธรรมผ่านความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำในระบบราชการและกลุ่มทุน เก่า ที่เป็นพันธมิตร ซึ่งมักเรียกกันว่า “อำมาตย์” กับกลุ่มทุนใหม่ที่เข้าสู่วงการเมืองโดยตรงขนานใหญ่ หลังวิกฤติต้มยำกุ้งผ่านพรรคไทยรักไทย (-พลังประชาชน และเพื่อไทย) ซึ่งมักเรียกว่า “ทุนสามานย์”

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญผิดในสาระสำคัญของคำพิพากษาคดีที่ดินรัชดา

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

"ดังนั้นจึงต้องเข้าใจให้ดีว่า การกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ (เฉพาะคดีนี้)
ไม่ใช่เป็นการทุจริตหรือคอร์รัปชันแต่ประการใด"
สิ่งที่สังคมต้องทำความเข้าใจก็คือสาระสำคัญของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหมายเลขคดีที่ อม.๑/๒๕๕๐ ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่ ๑ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ ๒ จำเลย หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า”คดีที่ดินรัชดา” เนื่องจากผู้เขียนเคยดำรงตำแหน่งอยู่ในสถาบันตุลาการมาเป็นเวลาถึง ๓๖ ปี อดรู้สึกสะเทือนใจไม่ได้เมื่อมีสังคมกล่าวขวัญเป็นเชิงตำหนิ หรือวิจารณ์ ผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้โดยมิได้ศึกษาและทำความเข้าใจสาระสำคัญในคำพิพากษาคดีนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน

กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาก็มักจะพูดว่า “สามีลงชื่ออนุญาตให้ภรรยาไปทำนิติกรรมตามที่กฎหมายบัญญัติ กลับมีความผิดถึงติดคุก ๒ ปี ส่วนกลุ่มคนที่ต้องการนำผลคำพิพากษาไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนและทับถมฝ่ายตรงข้ามก็พูดว่า “เพราะจำเลยทุจริตคอร์รัปชันศาลจึงพิพากษาจำคุก ๒ ปี แล้วหนีไปอยู่ต่างประเทศ” ขอทำความเข้าใจต่อสังคมให้เป็นทีประจักษ์เป็นลำดับดังนี้

(๑)กฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔,มาตรา ๑๐๐ และมาตรา ๑๒๒ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “กฎหมาย ป.ป.ช.” ในกฎหมายดังกล่าว มาตรา ๑๐๐ บัญญัติว่า

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จดหมายเปิดผนึก จากนักโทษการเมือง

ถึง คอป. เพื่อสิทธิมนุษยชนและการปรองดอง

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
33 งามวงศ์วาน ลาดยาว
จตุจักร กรุงเทพ 10900

วันที่ 10 กรกฎาคม 2554

เรื่อง ขอเสนอเพื่อสิทธิมนุษยชน และการปรองดอง

เรียน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อแนวทางการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ขอแสดงความยินดีกับการทำงานครบรอบ 1 ปีของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อแนวทางการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) จนเป็นที่ยอมรับในการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ตรงไปตรงมา โปร่งใส หลากหลายนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรง สร้างความปรองดองในสังคม ในฐานที่กระผม นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งทางการเมือง และความรุนแรงในสังคม ต้องถูกกล่าวหา และถูกจองจำให้สูญเสียอิสรภาพ ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อันเกิดจากการมีส่วนร่วมต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเรียนนำเสนอแนวความคิดเพื่อการปรองดองดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้ประวัติศาสตร์.. เข้าใจปัจจุบัน แบ่งปัน "อำนาจ-อนาคต"

ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : คอลัมน์ ออกแบบประเทศไทย มติชน

ในวันที่ผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม พรรคเพื่อไทยชนะอันดับ 1 ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกทำรัฐประหารเมื่อปี 2549 เตรียมก้าวสู่เก้าอี้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

เป็นชัยชนะที่มีมาพร้อมกับ "ความกังวล" เพราะมีภาพ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉายทาบอยู่เบื้องหลัง ซึ่งมองว่า "สวนทาง" กับอำนาจนอกระบบที่เป็น "เงาทะมึน" อยู่เบื้องหลังการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา ...ย่อมทำให้ขาดความมั่นใจว่าการเมืองไทยข้างหน้าจะเป็นอย่างไร??

ในสายตานักประวัติศาสตร์อย่าง "ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ" กรรมการบริหารวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และอดีตคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้ชื่อว่า "ครูประวัติศาสตร์" ระดับนำคนหนึ่งของเมืองไทย บอกว่า "หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นเส้นแบ่งการเมืองยุคใหม่ของสังคมการเมืองไทย"

"เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ จึงจะมีความหวังกับอนาคต การไม่มีมิติประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้ที่จะทำอะไร ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ประชาชน รัฐ ราชการ เอกชน เลยเดาไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต"

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปิดบันทึกอนุกรรมการสิทธิฯถึง “อมรา พงศาพิชญ์”

แนะให้พิจารณาร่างรายงานกสม.ให้รอบคอบก่อนเผยแพร่

บันทึกข้อความจากหนึ่งในอนุกรรมการสิทธิฯ ถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชี้ข้อบกพร่องของร่างรายงานกรรมการสิทธิกรณีการชุมนุม นปช.ปี 2553 ติงการสอบการละเมิดสิทธิต้องเริ่มที่การกระทำของรัฐกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่ “ไม่ใช่วิเคราะห์ว่า การกระทำของผู้ชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่?”

แม้สื่อมวลชนบางฉบับนำเอารายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มาเปิดเผยอย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว แต่ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า การแถลงข่าวรายงานฉบับดังกล่าวถูกยกเลิกไป เนื่องจากได้รับคำท้วงติงอย่างรุนแรงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วยกันเอง พร้อมด้วยบันทึกความเห็นต่อรายงานดังกล่าวโดยละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความไม่รอบด้านของข้อมูล ทั้งได้เสนอให้ “พิจารณาร่างรายงานนี้อย่างรอบคอบเสียก่อนการเผยแพร่ต่อไป”

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 54 รศ.กิตติศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการ ใน คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ทำบันทึกเรียน ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยแสดงความความเห็นต่อ “ร่างรายงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓”

ประชาธิปไตยของ “เสียงส่วนน้อย”

นักปรัชญาชายขอบ

เริ่มจะเป็นไปตามที่คาดกันแล้วครับ พรรคการเมืองที่ได้เสียงส่วนใหญ่มาจากประชาชนกำลัง “ถูกบล็อก” ด้วย “เสียงส่วนน้อย” นั่นคือจากนี้ไปคุณจะคิด จะทำ จะขยับซ้าย ขวา คุณต้องเงี่ยหูฟังว่า อภิสิทธิชน อำมาตย์ กองทัพ นักวิชาการ ปัญญาชน สื่อ ที่มี “ต้นทุนทางสังคม” มากกว่า เสียงดังกว่า มีช่องทางการ “ส่งเสียง” มากกว่า พวกเขาจะเสนอให้ทำอะไรและอย่างไร

การเมืองกำลังเดินเข้าสู่เกมการชิงพื้นที่ “ส่งเสียง” เพื่อสร้าง “สงครามวาทกรรม” รอบใหม่ โดยลืมไปว่าการเลือกตั้ง 3 ก.ค. เป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์มากที่สุด เป็นการเลือกตั้งในกระแสประวัติศาสตร์การปฏิเสธรัฐประหารและการเรียกร้อง “การเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย”

และเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคเพื่อไทยก็สะท้อนความต้องการของประชาชนที่ปฏิเสธรัฐประหาร และต้องการสร้างการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ซึ่งความต้องการดังกล่าวย่อมผนึกรวมความต้องการความยุติธรรมแก่ 91 ศพ คนบาดเจ็บพิการ และการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปกติกาเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทขององคมนตรี และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค เพื่อปิดประตูรัฐประหารอย่างถาวร

หากความต้องการดังกล่าวของเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตอบสนอง การเลือกเลือกก็จะมีความหมายแค่การเปลี่ยนรัฐบาลจาก “ประชาธิปัตย์” มาเป็น “เพื่อไทย” เพียงเพื่อให้มาทำนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปเท่านั้น ส่วนปัญหาการเปลี่ยนผ่านสังคมให้เป็นประชาธิปไตยภายใต้เงื่อนไขการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนที่บาดเจ็บล้มตาย เงื่อนไขการปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปสถาบัน ต้องขึ้นอยู่กับ “เสียงส่วนน้อย” ว่าจะยินยอมหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็บอกได้เลยว่า “ประชาชนตายฟรี” เหมือนกับที่ตายฟรีมาหลายครั้งแล้ว

พรรคประชาธิปัตย์ต้องทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง

นักปรัชญาชายขอบ

ทำไมความเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุด มีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากที่สุด มีสมาชิกพรรคที่ดูดีมีคุณภาพที่สุด (อย่างน้อยในสายตาคนกรุงเทพฯ คนภาคใต้ที่ว่ากันว่ามีความตื่นตัวทางการเมืองสูงกว่าภาคอื่น) จึงไม่ได้ช่วยให้ประชาธิปัตย์เอาชนะคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยได้ ทั้งที่พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองน้องใหม่ คุณทักษิณเองก็เป็นนักการเมืองหน้าใหม่เมื่อเทียบกับคุณอภิสิทธิ์ และขนาดคุณทักษิณกลับเข้าประเทศไม่ได้ แค่ส่งคุณยิ่งลักษณ์ที่ไม่เคยเป็นนักการเมืองมาก่อนเลยลงต่อสู้ก็ทำให้คุณอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างหมดรูป

ผมคิดว่าหากประชาธิปัตย์ไม่ยอมทบทวนตัวเองอย่างตรงไปตรงมา และอย่างจริงจังในประเด็นหลักๆ (อย่างน้อย) ต่อไปนี้ ประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านตลอดไป

1.ตามไม่ทันการแข่งขันเชิงนโยบายและความเป็นนักบริหารแบบมืออาชีพ จะเห็นว่าการแข่งขันเชิงนโยบายและนักบริหารมืออาชีพ คือยุทธศาสตร์หลักในการหาเสียงของคุณทักษิณตั้งแต่เขาลงเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลสมัยแรก ทำให้นโยบายและความเป็นนักบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ตกเป็นรองในทันที แม้ต่อมาจะพยายามแข่งนโยบาย วิสัยทัศน์ สร้างภาพลักษณ์นักการเมืองรุ่นใหม่อย่างคุณอภิสิทธิ์ แต่ก็ยังตามไม่ทันคุณทักษิณ โดยเฉพาะในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ยิ่งสะท้อนให้เห็นความอ่อนด้อยทางนโยบาย ภาวะผู้นำ และความเป็นนักบริหารมืออาชีพอย่างชัดเจน

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประชาชนปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดอย่างชัดเจน

ใจ อึ๊งภากรณ์

การเลือกตั้งครั้งนี้พิสูจน์อย่างเถียงไม่ได้เลย ว่าประชาชนไทยส่วนใหญ่ มีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตย เพียงพอที่จะปฏิเสธเผด็จการมือเปื้อนเลือดของอำมาตย์ และสิ่งที่น่ามหัศจรรย์คือมันเป็นชัยชนะของพรรคเพื่อไทยภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบาก เพราะฝ่ายอำมาตย์ปิดกั้นสื่อ และกลั่นแกล้งสร้างอุปสรรค์ให้กับเพื่อไทยและคนเสื้อแดงมาตลอด

แต่คำถามสำคัญหลังการเลือกตั้งคือ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะมีวุฒิภาวะและอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เท่าเทียมกับประชาชนผู้เลือกหรือไม่ และจะเดินหน้าพัฒนาสิทธิเสรีภาพกับประชาธิปไตย หรือจะประนีประนอมแบบสกปรกกับฝ่ายเผด็จการ

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ พิสูจน์ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่ก่อตั้งในค่ายทหาร หลังการยุบพรรคพลังประชาชน ไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่เลย และประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนขบวนการเสื้อแดงมาตลอด มันพิสูจน์อีกว่าพวกชนชั้นกลาง สื่อมวลชน เอ็นจีโอเหลือง และพวกพันธมิตรฯ โกหกเวลาพยายามแสวงหาความชอบธรรมกับการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ภายใต้อคติหลอกลวงว่า “มีการโกงการเลือกตั้งในอดีตโดยไทยรักไทย” หรือ “ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูลและไม่เข้าใจประชาธิปไตย” สรุปแล้ว พวกที่สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา สนับสนุนพันธมิตรฯ สนับสนุนการปราบปรามคนเสื้อแดง หรือสนับสนุนการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ล้วนแต่เป็นคนส่วนน้อย ที่โกหกบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับสังคมไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนชั้นสูง ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับผลประโยชน์ของประชาชนคนจน

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำความรู้จัก...'บัตรเลือกตั้ง'และการทำเครื่องหมาย'กากบาท'

บัตรเลือกตั้งมี 2 ใบ 2 สี (สีชมพู-สีเขียว)



บัตรเลือกตั้งที่จะใช้ในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ มี 2 แบบ แบบแรก จะเป็นบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใช้ “สีชมพู” ซึ่งใช้สำหรับการลงคะแนนตัวผู้สมัคร โดยสามารถกาบัตรได้เพียงหมายเลขเดียว แบบที่ 2 เป็นบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ “สีเขียว” ซึ่งใช้สำหรับลงคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคการเมือง บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งจะเย็บเป็นเล่ม ๆ ละ 25 ใบ มีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้ ซึ่งจะมีปกหน้าและปกหลัง สำหรับต้นขั้วของบัตรเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจะมีข้อความ “เล่มที่ ...เลขที่...ลำดับที่...” อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและมีที่ลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.)ผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้งและมีที่สำหรับให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง และขอให้สังเกตว่าบัตรเลือกตั้งแบบเขตนั้นเมื่อพับแล้วด้านหน้าจะมีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวาถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑและถัดลงไปมีข้อความว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” ส่วนบัตรของบัญชีรายชื่อ ช่องแรกมีเบอร์ของพรรค สัญลักษณ์ (โลโก้) ของพรรคการเมือง อยู่ด้วย

คนเสื้อแดง “Agent of Change ?”: บทสำรวจบางประการ

ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทนำ

การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนหน้า 19 กันยา 49 เล็กน้อยจนถึงปัจจุบัน ได้สั่งสมประสบการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด หากว่าสังเกตดีๆก็จะพบสิ่งที่น่าสนใจหลายประการในกลุ่มคนเหล่านี้ อาทิเช่น คนเสื้อแดงส่วนใหญ่เริ่มต้นการต่อสู้ทางการเมืองแบบ “ไม่มีอะไรในหัว” มาก่อนเลยแต่กลับสู้ยิบตาลองผิดลองถูกตลอด หรือว่าแนวร่วมคนเสื้อแดง “ผู้คร่ำหวอด” ในการต่อสู้ทางการเมืองมาตั้งแต่ภายหลังการพังทลายของระบอบเผด็จการทหาร 14 ตุลาฯมาร่วมแจมแต่กลับไม่มีอิทธิพลต่อคนเสื้อแดงในแนวกว้างมากนัก หรือว่าผู้นำคนเสื้อแดงในรูปแบบกลุ่มนายทุนโลกาภิวัฒน์และพรรคการเมืองในระบบที่เต็มไปด้วยการหนุนหลังของชนชั้นนำมากมายตั้งแต่ข้าราชการจนไปถึงหัวคะแนนในระดับชุมชนซึ่งแม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่มาก เป็นต้น...

ปรากฎการณ์การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงนับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย ทำไมผมจึงกล่าวว่าการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ หากพิจารณาการต่อสู้ทางการเมืองในอดีตเราจะเห็นตัวละครในการเมืองไทยเพียงไม่กี่ตัวละครเท่านั้นที่ “กึ่งผูกขาด” ในการต่อสู้ ก่อนและหลัง 2475 การต่อสู้ทางการเมืองจำกัดอยู่เพียงแค่ภายในหมู่ชนชั้นนำจนกระทั่งก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เมื่อนักศึกษา พรรคประชาธิปัตย์ นายทหารฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจอมพลถนอม และเครือข่ายอนุรักษ์นิยม ได้ร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างกันเพียงชั่วคราวเพื่อโค่นล้มระบอบสฤษดิ์ลงไป หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ การต่อสู้ทางการเมืองจึงกลับมาวนเวียนอยู่ภายในชนชั้นนำอีกครั้งเช่นสมัยก่อนแต่ทว่าหากมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองน้อยใหญ่เข้ามามีพื้นที่ในการต่อสู้บ้าง...

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในช่วงโค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง คนเสื้อแดงทุกคนคงจะมีคำถามในใจ เช่น “อำมาตย์มันจะโกงด้วย กกต. ศาล หรือ การทำอะไรแปลกๆกับบัตรเลือกตั้งหรือไม่?” “มันจะทำรัฐประหารล้มการเลือกตั้งไหม?” “เพื่อไทยจะได้คะแนนพอที่จะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่?” หรือ “ถ้าตั้งรัฐบาลได้ อำมาตย์จะสร้างอุปสรรค์อะไรกับการบริหารงานของเพื่อไทย?”

เราไม่สามารถตอบได้แน่ชัด แต่เราจะต้องไม่แปลกใจกับเหตุการณ์ในอนาคต “ไม่แปลกใจ” หมายความว่าเราต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าอำมาตย์ทำอะไร เราจะรับมืออย่างไร และจงเข้าใจว่าเราต้องรับมือเอง ไม่มีใครคนอื่นที่จะทำให้

นอกจากการคิดเรื่องการรับมือ เราต้องไม่ไหลตามกระแสข่าวลือที่มีมากมายในสังคมที่ปกปิดข่าวอย่างไทย ก่อนจะเชื่ออะไรต้องตรวจสอบว่าแหล่งข่าวไว้ใจได้หรือไม่ มาจากใคร ฯลฯ

อย่าประเมินฝ่ายตรงข้ามต่ำไป ซึ่งหมายความว่า พอเห็นโพลเพื่อไทยมาแรง ก็นั่งพัก คิดว่าถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะไม่มีผลมากมาย ทำอย่างนี้ไม่ได้ เราต้องเข้าใจว่าแม้อำมาตย์ไม่โกงตอนนี้ มันขยันสร้างปัญหามานาน ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ เราพักผ่อนไม่ได้

ที่สำคัญคือ ต้องเลี้ยงดูเครือข่ายเสื้อแดง เพราะหลังเลือกตั้งภาระของคนเสื้อแดงจะเพื่มหลายเท่า ยิ่งต้องขยันมากขึ้นในการปกป้องกระบวนการประชาธิปไตย และรัฐบาลเพื่อไทย

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การกระทำผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ความผิดเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
1. การให้ หรือสัญญาว่าจะให้ เงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือการเลี้ยง หรือรับจะจัดเลี้ยง หรือหลอกลวง หรือใช้อิทธิพลคุกคาม หรือใส่ร้าย เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง หรือไม่ลงคะแนนเลือกตั้งเป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 -10 ปี และปรับ 20,000 – 200,000 บาทและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
2. การจัดยานพาหนะนำผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปหรือกลับจากที่เลือกตั้ง เพื่อการเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 5 ปี หรือปรับ 20,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
3. การให้คนที่ไม่มีสัญชาติไทยช่วยเหลือในการหาเสียง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และปรับ 20,000 - 200,000 บาท
4. การหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่เวลา 18.00 นาฬิกา ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ห้ามปิดประกาศ หรือติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกเหนือจากที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งติดในสถานที่ของเอกชน และห้ามหาเสียงโดยการติดแผ่นป้ายแนะนำตัวผู้สมัครเกินขนาดและมีจำนวนไม่เป็นไปตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด หรือการหาเสียงตามสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์นอกเหนือจาก ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้
เป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. การเรียก หรือรับทรัพย์สินในการลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี หรือปรับ 20,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
7. เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
เป็นความผิดมีโทษจำคุก 1 - 10 ปี และถูกปรับ 20,000 - 200,000 บาท และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พวกที่ใช้กรอบอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น ที่มองว่าประเด็นหลักในการเลือกตั้งคือทักษิณ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ในบทความล่าสุดของหนังสือพิมพ์ New York Times มีการอ้างคำพูดของนักวิชาการที่ศึกษาประเทศไทยชื่อ Chris Baker เขาพูดว่า “การเลือกตั้งครั้งนี้เกี่ยวกับทักษิณและการที่ทักษิณถูกกระทำในรอบห้าปีที่ผ่านมาเท่านั้น”

ความคิดแบนี้ เรามักพบในแวดวงพวกนักวิชาการและปัญญาชนที่ใช้กรอบคิดที่ให้ความสำคัญกับคนชั้นสูง และมองข้ามความสามารถของประชาชนส่วนใหญ่

พวกนี้ให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร ๑๙ กันยา เพราะเขาอ้างว่าคนจนโดนซื้อและนำมาเป็นผู้ถูกอุปถัมภ์โดยไทยรักไทยและทักษิณ ดังนั้นการที่คนจำนวนมากลงคะแนนให้ไทยรักไทย “ไม่ใช่ประชาธิปไตย”

ตอนนี้พวกที่ใช้กรอบคิดอภิสิทธิ์ชนกำลังเสนอว่าทักษิณจูงจมูกพวกเราชาวเสื้อแดงเหมือนวัวควาย เพื่อที่เขาจะได้ฟอกตัวและกลับมามีอิทธิพลอีก

ทำไมชาวสังคมนิยมต้องเรียกร้องให้ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทย

ใจ อึ๊งภากรณ์

ธรรมดาแล้วนักสังคมนิยมจะไม่ไปลงคะแนนเสียง หรือเรียกร้องให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองที่เป็นพรรคนายทุน โดยเฉพาะเวลาพรรคนั้นไม่มีนโยบายรัฐสวัสดิการหรือนโยบายสังคมนิยมอะไรทั้งสิ้น แต่การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในต้นเดือนกรกฏาคม ๒๕๔๔ นี้ เป็นการเลือกตั้งพิเศษ

ชาวสังคมนิยมจะต้องไปลงคะแนนเสียงให้พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคนายทุน เพราะเป้าหมายในการเลือกตั้งครั้งนี้ของฝ่ายอำมาตย์ คือการฟอกตัวและพยายามพิสูจน์ความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา ในการล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ในการตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร และในการเข่นฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปีที่แล้ว เรายอมไม่ได้

ลองนึกภาพ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมาก (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) หรือถ้าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำแนวร่วมกับพรรคงูเห่าเล็กๆ เพื่อได้เสียงมากกว่าพรรคเพื่อไทย คนอย่างอภิสิทธิ์จะพองตัวเหมือนคางคกโอ้อวดความชอบธรรม จะมีคนของมันออกมาพูดว่า “เห็นไหม? พรรคไทยรักไทยหรือพรรคของทักษิณโกงการเลือกตั้งมานานในอดีต คราวนี้เราเห็นเสียงแท้ของประชาชน และเราเข้าใจแล้วว่าทำไมต้องมีรัฐประหารและการปราบพวกของทักษิณ” เรายอมให้เขาพูดแบบนี้ไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรณรงค์

จากกระบวนการสร้างชาติ สู่วิถีทางแห่งการตลาด ถึงการเมือง


การรณรงค์ (Campaign) เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญทางการสื่อสารทั้งด้านการรับรู้ (Awareness) หรือการกระตุ้นให้เกิดความสนใจ (Interest) สร้างความต้องการ (Desire) และการตัดสินใจเข้าร่วมหรือกระทำ (Action) นักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการรณรงค์ไว้มากมายทั้งในด้านสื่อสารการตลาดไปจนถึงด้านรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การรณรงค์เป็นวิธีการระดมความรู้ ความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายร่วมมือตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างสำคัญที่ใช้การรณรงค์เพื่อการสร้างชาติ ทั้งรัฐบาลและองค์กรอิสระต่างก็ใช้กระบวนการสื่อสารดำเนินการรณรงค์ไปยังกลุ่มชนผ่านช่องทางสื่อมวลชน เพื่อสร้างความมั่นใจ ทัศนคติ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงยุคแห่งการพัฒนา มหาอำนาจในซีกโลกตะวันออกก็ไม่น้อยหน้า นโยบายสร้างชาติของจีน (พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๕๐๒) มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วม (Attention Attraction) ปรับเปลี่ยน ปลูกฝัง และสร้างทัศนคติ (Ideological Preparation) กระตุ้นให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐที่แสดงออกถึงความเป็นชาติ และประเมินผลการรณรงค์ (Review of Campaign) ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จดหมายจาก "ปิยบุตร แสงกนกกุล" ถึง "แก้วสรร อติโพธิ"

นิติราษฎร์ฉบับที่ 24 วิพากษ์กฎหมายหรือกฎหมู่ ?


“J’apprenais du moins que je n’étais du côté des coupables, des accusés, que dans la mesure exacte où leur faute ne me causait aucun dommage. Leur culpabilité me rendait éloquent parce que je n’en étais pas la victime. Quand j’étais menacé, je ne devenais pas seulement un juge à mon tour, mais plus encore : un maître irascible qui voulait, hors de toute loi, assommer le délinquant et le mettre à genoux.”

“... การที่โดดเข้าไปช่วยเหลือจำเลยนั้นก็เพราะอาชญากรรมของเขาไม่เป็นภัยต่อสวัสดิการของผม ผมแก้คดีของเขาด้วยอรรถาธิบายอันไพเราะจับใจ เพราะผมไม่ได้เป็นผู้รับเคราะห์จากการกระทำของเขา ทว่าเมื่อใดก็ตามที่เขาอาจเป็นอันตรายต่อผม เมื่อนั้นผมจะจัดการพิพากษาเขาทันที ยิ่งกว่านั้นก็พร้อมจะกลายเป็นคนคลั่งอำนาจ กฎหมายว่าอะไร กูไม่ฟัง จำจะต้องลงโทษมันให้ได้”

Albert Camus, La Chute, Gallimard, 1956, p.66.
สำนวนแปลโดย ตุลจันทร์ ใน อัลแบร์ กามู, มนุษย์สองหน้า, สำนักพิมพ์สามัญชน, ๒๕๔๓, หน้า ๖๘.

- ๑ -
“กฎหมาย”
วัฒนธรรมการเมืองไทยในทุกวันนี้ มักอ้าง “กฎหมาย” กันเป็นสรณะ หากต้องการเสริมสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตน ก็ต้องอ้างกฎหมาย เช่นกัน หากต้องการทำลายความชอบธรรมของการกระทำของศัตรู ก็ต้องอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเถลิงอำนาจของ “กฎหมาย” เป็นส่วนหนึ่งของชัยชนะอุดมการณ์ประชาธิปไตย-เสรีนิยม-นิติรัฐ เมื่อประเทศไทยอยู่ในสังคมโลก จึงไม่อาจตกขบวน “นิติรัฐ-ประชาธิปไตย” ได้ 1

วิวาทะระลอกล่าสุดกรณี มาตรา 112

ระหว่าง "รมว.นิพิฏฐ์" แห่งกระทรวงวัฒนธรรม กับ "วาด รวี - ปราบดา หยุ่น"

เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรมได้เผยแพร่บทความ คำให้การของ "นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ" ถึง "วาด รวี" และ "ปราบดา หยุ่น" ที่ รมว.วัฒนธรรมได้เขียนตอบโต้ จดหมายเปิดผนึกถึง นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โดย "วาด รวี" และ "ปราบดา หยุ่น" สองนักเขียนดังผู้ออกมาเป็นแกนนำเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

เรียน คุณวาด รวี และ คุณปราบดา หยุ่น

ผมอ่านจดหมายเปิดผนึกของคุณทั้งสองที่มีถึงผมแล้ว ตอนแรกตั้งใจจะไม่ตอบ เพราะไม่มีเวลา แต่คิดไปคิดมาถ้าไม่ตอบคุณทั้งสองอาจจะเข้าใจผิดว่า ผมยอมรับหรือจำนนต่อเหตุผลของคุณ ซึ่งอาจทำให้ผมได้รับความเสียหายได้

"ข้อหา" ที่คุณทั้งสองตั้งให้ผมนั้นดูเหมือนรุนแรงเกินไป และขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงหลายประการ แต่ผมให้อภัย เพราะคิดว่าคุณทั้งสองกำลัง "จินตนาการ" ตามวิสัยของความเป็นนักเขียนของคุณ แต่บังเอิญจินตนาการของคุณล้ำเข้ามาในเขตแดนของผม และทำลายความสงบสุขในเขตแดนของผม โดยไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะข้อหาที่คุณ กล่าวว่า การให้สัมภาษณ์ของผม "ไม่เป็นผลดีต่อการใช้เหตุผลและสติปัญญาของสังคม และอาจส่งผลให้วัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมไทยเสื่อมเสียได้" และข้อหาที่ว่าผม "กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์" ผมขอแก้ข้อกล่าวหาของคุณทั้งสอง ดังนี้

อาจารย์ตุ้ม : พรรคเพื่อไทย กับกลุ่มโหวตโน

แล้วคุณคิดยังไง ?

ช่วงนี้ข่าวเลือกตั้งฮิตติดจอเหมือนละครทีวีที่มีเรยาเป็นตัวเด่น และที่สำคัญมีบางอย่างที่คล้ายเรยาอยู่ด้วย คงไม่ต้องขยายความ

เห็นการหาเสียงกันแล้ว ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรู้จักกับ 3 ท่านนี้ก็เชื่อว่าหลังเลือกตั้งคงไม่เกิดความวุ่นวาย เพราะ 3 ท่านที่ว่านี้ทุกคนก็คุ้นเคยท่านดีแต่อาจจะห่างๆ ท่านไปบ้าง คือ ท่านคุณธรรม ท่านเกียรติศักดิ์ และท่านสุภาพ
บุรุษ ส่วนที่ว่า ไม่มีมิตรแท้ กับศัตรูถาวร ในหมู่นักการเมือง ก็เป็นข้อแก้ตัวไปวาระ แต่ถ้าให้ดีอย่าใช้จะดีกว่า ถ้าจะใช้ขอให้เป็น 3 ท่านที่กล่าวถึงเพราะ บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่นหรือสมบัติผลัดกันชม และถือเป็นการเหยียดหยามพี่น้องประชาชนหรือแม้ตัวท่านเองด้วย

ถ้ายังจำกันได้ ก่อนและหลัง 10 มีนา ไม่กี่วันข่าวลือว่าไม่มีเลือกตั้ง ทหารจะปฏิวัติ หนาหูจนถึงขั้นมีคนเห็นทหารใหญ่เคลื่อนไหวกันที่โน่นที่นี่ทั่วไปหมด แล้วไง ปฏิวัติไหม?

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปกครองประเทศอังกฤษ :

ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701 เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่ยอมรับกกันมาเกือบ 300 ปีแล้ว

รัฐธรรมนูญของอังกฤษ จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัติถึง 2 ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและตามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รัฐสวัสดิการกับความจริงในประเทศไทย

วิกฤติการเมืองไทยตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยายังไม่มีแนวโน้มจะสิ้นสุด ความเจ็บปวดและความอดทนของเพื่อนเสื้อแดงล้านๆ คนทั่วประเทศหมายความว่าเราต้องเดินหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ ไม่ใช่แค่ย้อนกลับไปสู่สภาพสังคมก่อนการทำรัฐประหาร ส่วนสำคัญของประชาธิปไตยแท้คือเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม เพราะถ้าพลเมืองไทยทุกคนไม่มีความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ก็ยากที่จะมีสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย และไม่มีทางที่จะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เราจึงเสนอว่าคนเสื้อแดงต้องเรียกร้องรัฐสวัสดิการ (ถ้วนหน้า-ครบวงจร-จากภาษีก้าวหน้า) คู่ขนานไปกับข้อเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตย

1. รัฐสวัสดิการ (Welfare State) คืออะไร?
ในยุคปัจจุบัน ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีสวัสดิการสำหรับคนจนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วระบบสวัสดิการที่พบในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีลักษณะที่ไม่ครอบคลุม แยกส่วน และไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้

รัฐสวัสดิการ (Welfare State) เป็นระบบสวัสดิการรูปแบบที่พัฒนาไปถึงระดับสูงสุดสำหรับระบบทุนนิยม และถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democrat) รัฐสวัสดิการมีลักษณะพิเศษคือ

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เวลาที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี

ก็ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า?

ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ในระบบประชาธิปไตยอังกฤษ พรรคไหนมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาล?

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

เนื่องจากฝ่ายประชาธิปัตย์ และทหารอำมาตย์พยายามหาทุกทางที่จะตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะได้เสียงข้างมากของประชาชนหรือไม่ ผมขอเล่าถึงกติกาการตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งของอังกฤษ

ในประเทศอังกฤษมี "ทำเนียม" กติกาประชาธิปไตย เพราะอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญ ใช้กฏหมายบวกกับทำเนียมในการกำหนดกติกา ข้อดีตรงนี้คือมันเปลี่ยนตามกระแสประชาชนง่ายขึ้น ไม่จารึกเป็นหิน และขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนมีอิทธิพลได้บ้าง

1. ในกรณีที่พรรคไหนได้ที่นั่งเกินครึ่งหนึ่งของสภา พรรคนั้นตั้งรัฐบาลได้ทันที ไม่มีข้อถกเถียงเลย บางครั้งถ้าเสียงเกินครึ่งแค่หนึ่งหรือสองที่นั่ง อาจทำข้อตกลงกับพรรคเล็กๆเพื่อกันอุบัติเหตุ เช่น ส.ส. ตาย หรือ ส.ส. เดินทางมาลงคะแนนในสภาไม่ได้

2. ในกรณีที่ไม่มีพรรคไหนได้เกินครึ่งของสภา อย่างที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งปีที่แล้ว ที่รัฐบาลพรรคแรงงานอังกฤษยุบสภาแล้วเสียที่นั่งไปมาก ตามทำเนียมเก่า... พรรครัฐบาลเก่ามีสิทธิ์ที่จะพยายามสร้างแนวร่วมกับพรรคอื่นก่อนเพื่อนได้ แต่ในยุคนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิธีนี้ไม่มีความชอบธรรม เพราะถ้าพรรคของอดีตรัฐบาลแพ้การเลือกตั้ง จนมีเสียงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสภา ต้องถือว่าประชาชนหันหลังไม่เอารัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรมีน้ำใจประชาธิปไตยและลาออก เมื่อปีที่แล้ว พรรคแรงงานพยายามลองสร้างแนวร่วมกับพรรคเสรีนิยม แต่พรรคเสรีนิยมไม่เอา Gordon Brown เลยลาออก แต่ถ้าเขาตั้งรัฐบาลได้ คนส่วนใหญ่ก็จะมองว่าขาดความชอบธรรม และจะต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น

รัฐบาลพรรคเดี่ยว กับ ประชาธิปไตย

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าว พรรคไทยรักไทยยึดประเทศ นัยเพื่อจะรายงานข่าวว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท้วมท้น ส่งผลให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยพรรคการเมืองอื่นมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล การเมืองไทยที่พัฒนาก้าวกระโดดเช่นนี้ ดูน่าจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเมืองที่เห็นว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองพรรคเดียว ย่อมสามารถบริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ของบ้านเมืองไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องคอยต่อรองผลประโยชน์กัน ในระหว่างพรรคการเมืองหลายพรรค เหมือนรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรค

ประเด็นที่น่าสนใจ คือว่า รัฐบาลพรรคเดียว จะทำให้การเมืองเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ดังที่ควรเป็นหรือไม่ ข้อที่น่าพิจารณาเบื้องต้น คือว่า ภายใต้บริบทการเมืองแบบไทย ๆ พรรคการเมืองมักเป็นที่รวมตัวของบุคคลและกลุ่มคนที่มีแนวคิดมุ่งที่ผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องเป็นหลัก เป็นไปตามแนวคิดการเมืองเพื่อผลประโยชน์ สมาชิกพรรคการเมืองที่สามารถรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม ย่อยๆในพรรค และมีอำนาจเงินทองและอิทธิพลมากกว่า ย่อมจะต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์ และอำนาจอิทธิพล ต่างไปจากสมาชิกที่เป็นปัจเจกหรือที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่เล็กกว่า

"กองทัพไทย" ในสถานการณ์เลือกตั้ง 3 กรกฎาคม

บทวิเคราะห์บทบาททางการเมืองของกองทัพไทย : โดย ราเชล ฮาร์วีย์
ราเชล ฮาร์วีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย ได้เขียนสกู๊ปเรื่อง "Thai military′s political past looms over elections" (บทบาททางการเมืองในอดีตของกองทัพไทย ปรากฏอยู่อย่างลางๆ เหนือการเลือกตั้ง) โดยมีเนื้อหาดังนี้

ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม แต่จากประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย ทำให้น่าสงสัยว่า ผลการเลือกตั้งจะถูกกำหนดโดยเจตจำนงของประชาชนเพียงฝ่ายเดียวจริงหรือไม่?

เมื่อ 5 ปีก่อน รถถังของกองทัพได้ออกมาวิ่งบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร เพื่อทำการรัฐประหาร

เมื่อปีก่อน ทหารได้เคลื่อนพลเข้ามาบนท้องถนนในกรุงเทพฯ อีกครั้ง แต่คราวนี้ พวกเขาปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อทำการระงับปราบปรามความรุนแรงที่กำลังก่อตัวสูงขึ้น และกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิทธิเลือกตั้ง เงินซื้อเสียง ใครโง่ ?

อภิชาต สถิตนิรามัย


กล่าวอ้างได้ว่า ความแตกต่างระหว่างการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 กับการรัฐประหารทุกครั้งก่อนหน้านี้ คือการที่ "ชาวบ้าน" ออกมาปกป้องสิทธิการเลือกตั้ง บทความนี้จะอธิบายว่า ทำไม "ชนชั้นกลางระดับล่าง" หรือ "ชาวบ้าน" จึงให้ความสำคัญกับสิทธิการเลือกตั้ง

หากเราถือว่าผู้มีรายได้ต่อคนต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาทขึ้นไปในปี 2552 (เส้นความยากจนด้านรายได้เท่ากับ 1,443 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2550) เป็นชนชั้นกลางแล้ว พบว่ามี 2 กลุ่มอาชีพ คือ เกษตรกร และแรงงานไร้ฝีมือ (ประมาณ 32% ของครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งลดลงจาก 55% ในปี 2529) เท่านั้นที่ไม่ใช่ชนชั้นกลาง โดยเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อคน 3,214 บาท ในขณะที่อาชีพการค้าและบริการ (20%) ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นชนชั้นกลางระดับล่างสุดมีรายได้ 5,828 บาท (พอ ๆ กับรายได้ของคนงานภาคการผลิตในอุตสาหกรรม) หรือสูงกว่าเกษตรกรเกือบสองเท่า แต่ยังต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อคน (6,239 บาท) กลุ่มการค้าและบริการนี้เพิ่มจาก 10% เศษในปี 2529 เป็น 20% ในปี 2552 ที่น่าสนใจคือกลุ่มอาชีพนี้มีแนวโน้มกระจายตัวออกจากเขตเมืองไปสู่เขตชนบท และกระจายตัวออกจาก กทม.ไปทุกภูมิภาค

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปลดล็อคความไม่สงบหลังเลือกตั้ง

โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี

1.ความไม่สงบหลังเลือกตั้ง คนเป็นอันมากไม่เชื่อว่าจะมีความสงบหลังเลือกตั้ง เพราะปัจจัยให้เกิดความไม่สงบยังดำรงอยู่เหมือนเดิม เหมือนถูกล็อคอยู่ด้วย เหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ
(1) ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงอันดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่เสียงข้างมาก แล้วพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคอื่นจัดตั้งรัฐบาล พท. และมวลชนคนเสื้อแดงก็จะกล่าวหาว่ากองทัพและมือที่มองไม่เห็นเข้ามาจัดการไม่ให้ พท. เป็นรัฐบาลอย่างนี้ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย ต้องเคลื่อนไหวนอกสภาเพื่อต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยประชาธิปัตย์
(2) ถ้า พท. ได้เสียงข้างมากแล้วจัดตั้งรัฐบาล และต้องการนำทักษิณกลับมา พวกที่เกลียดกลัวทักษิณ พวกที่เกลียดกลัวการล้มเจ้า ก็จะรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาล

2.การแก้ไขตามเหตุปัจจัย ควรปลดล็อคเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดความไม่สงบดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้
(1) ถ้า พท. ได้เสียงมาเป็นอันดับ 1 ควรให้เวลา พท. พยายามจัดตั้งรัฐบาลอย่างเต็มที่ อย่าใช้อำนาจนอกระบบใดๆ ไปขู่เข็ญพรรคการเมืองให้ทำตามที่ตัวต้องการ ให้กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลมีความโปร่งใสที่คนไว้วางใจเชื่อถือได้มากที่สุด
(2) ถ้า พท. จัดตั้งรัฐบาล จะนำทักษิณกลับหรือไม่ทักษิณก็สามารถบงการรัฐบาล พท. อยู่ดี คุณทักษิณควรจะถือโอกาสแก้ตัว คุณเคยมีอำนาจสูงสุดมาแล้ว ไม่ว่าคุณจะคิดว่าทำดีเพียงใด แต่การที่มีคนเกลียดและกลัวจำนวนมากไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ถ้าคุณทักษิณปรับตัว ว่าอะไรที่ทำให้คนเกลียดและกลัวก็อย่าไปทำ พิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิถีประเทศไทยต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตัวเองของคุณทักษิณ จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศไทยและต่อโลก และเป็นการปลดล็อคความไม่สงบอย่างสำคัญ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เปิดใจ “ทักษิณ”: ชี้ทหาร “พารานอย”มากเกินไป

เรื่องสาธารณรัฐและประธานาธิบดี โดย หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์


อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาที่ประเทศดูไบว่า ความพยายามของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในการสร้างแผนการปรองดองนั้นล้มเหลว และทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น ขณะนี้จึงเป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยในการสร้างการปรองดองในชาติ และหวังว่าตนเองจะสามารถกลับประเทศไทยได้ เพื่อแก้ไขบาดแผลทางการเมืองของประเทศในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่ถึงแม้ว่าจะกลับมาไม่ได้ ตนก็ยังอยากให้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปรกติ

“ความปรกติในความหมายของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นคนล่ะความหมาย เขาพยายามจะปรองดองมา 2 ปีครึ่งแล้ว แต่ก็ล้มเหลว ซ้ำยังทำให้ประเทศแตกแยกมากขึ้น เป็นคราวของเราแล้วที่จะต้องสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น” อดีตนายกฯกล่าว

ในระหว่างการสัมภาษณ์ที่ยาว 1 ชั่วโมง เขายอมรับว่าการกระทำที่รุนแรงต่อชาวมาเลย์มุสลิมในภาคใต้สมัยที่เขาเป็นนายกถือเป็นความผิดพลาด และกล่าวว่าการเป็นตำรวจนั้นทำให้ตนถูกสอนมาว่าต้องใช้ทั้งกำปั้นเหล็กและถุงมือกำมะหยี่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้กำปั้นเหล็กมากไป และเสียใจในสิ่งที่เคยทำ ทั้งนี้ ในอนาคตจะต้องเปลี่ยนแปลงไป

"ทราย เจริญปุระ" เราอยู่ในประเทศเสรี

แต่คนที่พยายามจะให้ทุกคนมีเสรีกลับถูกลงทัณฑ์

ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์ รักคนอ่าน
มีอะไรหลายอย่างวนเวียนอยู่ในสมอง
ไม่ใช่เหตุการณ์จริงในชีวิต แต่เกิดขึ้นเฉพาะในสมองน้อยๆ ของฉัน
สาวสีลม ใครยิงใครก่อน อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ดาวเทียมไทยคม การปฏิวัติ และเด่นจันทร์

ฉันไม่รู้จะเลือกสนใจอะไรก่อนดี
ช่วงนี้เจอคนมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต
บางคนก็เจอซ้ำๆ บางคนก็เจอแล้วผ่านเลยไป
สุดท้ายใครกันจะกลายเป็นเพื่อนของเรา

จำนวนเพื่อนเฉียดพันใน Facebook จะเป็นตัวบอกได้หรือไม่ ว่าสุดท้ายแล้วใครจริง
เราไม่ยิงเขาก่อน เราดีกว่า เราใหญ่กว่า เราเจริญกว่า
นี่หรือความคิดของผู้นำกองกำลัง

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจาะลึก “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง”

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


วันนี้ สุชาดา จักรพิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี และกรรมการบริหารสำนักข่าวประชาธรรมประกาศเปิดตัวเวปไซท์ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ซึ่งอ้างตัวเป็น “อีกทางเลือกข่าวเชิงลึก” สำหรับคนไทย และเน้นการเปิดโปงคอรรับชั่น

แต่ก่อนที่ท่านจะหลงคิดว่าอันนี้เป็นเวป์ทางเลือกจริงๆ กรุณาพิจารณา “ข้อมูลเชิงลึก” ดังต่อไปนี้

1. “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” ได้รับเงินทุนทั้งหมดจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลไทย ที่ได้ทุนจากการเก็บภาษีของรัฐไทย เอ็นจีโอไทยชอบขอเงินจากองค์กรนี้

2. เมื่อลองค้นหาข้อมูล “เชิงลึก” ในเวป์ “ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง” เรื่องกฏหมาย 112 ซึ่งเป็นปัญหายักษ์ใหญ่ในไทย หรือข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ราชประสงค์และผ่านฟ้า หรือข้อมูลเรื่องงบลับของทหาร หรือการโกงกินในโครงการหลวง หรือการโกหกของ ศอฉ. หรือการโกงกินของนักการเมืองประชาธิปัตย์ ท่านจะไม่พบอะไรทั้งสิ้น แต่ปรากฏว่ามีการ “เปิดโปง” เรื่อง คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ดร.นันทวัฒน์ ถามหาความกล้า"ประชาธิปัตย์"

เป็นฝ่ายค้านที่สะอาดดีกว่าอยู่ในรัฐบาล แล้วเป็นสีเทา

มติชนออนไลน์

นับถอยหลังการเลือกตั้ง 3 ก.ค. " มติชนออนไลน์" สัมภาษณ์พิเศษ นักกฎหมายมหาชน ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในประเด็นสำคัญที่อยากให้คุณได้อ่านก่อนไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง

มองกรณีพรรคเพื่อไทย ดัน "คุณยิ่งลักษณ์" เป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 มีนัยอะไร
กรณีคุณยิ่งลักษณ์ เป็นกรณีที่น่าสนใจ เพราะหลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ แล้วคุณสมัคร(สุนทรเวช)มาเป็นหัวหน้าพรรค เราก็พูดกันตลอดว่า นี่คือ นอมินี ทุกคนพยายามที่จะขุดคุ้ย แต่ทางพรรคก็พยายามบอกว่า ไม่เกี่ยวกับคุณทักษิณ แต่ในวันนี้ ทุกอย่างชัด เกิดการยอมรับขึ้น คุณยิ่งลักษณ์เองก็บอก ข่าวก็ลงว่า "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" เพราะฉะนั้นวันนี้ ทุกอย่างชัดเจน เหมือนกับการเอาหวยใต้ดินขึ้นมาบนดิน ทุกอย่างขึ้นมาอยู่ข้างบน แล้วสู้กันให้เห็นชัดๆไปเลย ซึ่งผมคิดว่าดีที่สุด ที่เอาคุณยิ่งลักษณ์เป็นหัวหน้าพรรค เป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 นี่เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด กับประเทศชาติและประชาชนด้วย

ดีสำหรับประเทศชาติ ก็คือว่า เราจะได้ไม่ต้องขุดคุ้ยกันอีก จะได้ไม่ต้องหาว่ามีนอมินี เพื่อจะยุบพรรคการเมืองอีก
ดีสำหรับประชาชน ก็คือ ประชาชนจะได้รู้ไปเลยว่า นี่เป็นพรรคของคุณทักษิณ คุณทักษิณหนุนอยู่ และนี่คือน้องคุณทักษิณ เพราะฉะน้ัน ถ้าคุณชอบ คุณก็เลือกไปเลย ถ้าไม่ชอบ ก็ไม่ต้องเลือกไปเลย เพราะอย่างเมื่อก่อน อาจจะมีบางคนไม่ชอบคุณทักษิณ แต่ชอบคุณสมัคร แล้วก็คิดว่าเป็นพรรคคุณสมัคร แต่พอไปเลือก กลับได้คุณทักษิณมา หรืออย่างบางคนชอบคุณทักษิณ แต่ไม่ชอบคุณสมัคร ก็เลยไม่เลือก ทั้งๆที่คุณทักษิณอยู่ข้างหลัง เพราะฉะนั้นวันนี้ทุกอย่างชัด

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชน

ภายใต้บรรยากาศการหาเสียง

ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภายใต้บรรยากาศการเลือกตั้งมีการแข่งขันหาเสียงดังที่ปรากฏเป็นข่าวกันอยู่ทุกวัน แต่สิ่งที่เราควรจะช่วยกันหยุดยั้งและต่อต้านคือวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาประชาชนที่แฝงมากับการหาเสียง

ฝ่ายผู้ใช้วาทกรรมเหล่านี้ต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางและนโยบายหาเสียงของตนเอง จึงพยายามป้ายสีแนวคิดหรือนโยบายที่ตรงกันข้ามให้กลายเป็น “เรื่องผิด” หรือเป็น “ความเขลา” ที่ประชาชนไม่ควรไปหลงตาม ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนี้จำเป็นต้องช่วยกันหยุดคิดและลดทอนพลังของวาทกรรมดูแคลนสติปัญญาเหล่านี้

วาทกรรมเข้าข่ายดังกล่าวเท่าที่พอจะรวบรวมได้ในขณะนี้มีอยู่ 4 ข้อ คือ

1. ใช้ระบบบัญชีรายชื่อผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
นักวิชาการและนักวิเคราะห์บางท่านออกมาโจมตีบัญชีรายชื่อของบรรดาพรรคการเมืองทันที โดยชี้ว่าบัญชีรายชื่อที่จัดขึ้นมาเป็นเรื่องของการตอบแทนบุญคุณบ้าง หาที่ให้นายทุนบ้าง เป็นที่ที่พวก ส.ส. เขตถูกยัดเยียดให้อยู่บ้าง สรุปคือล้วนแต่เป็นเรื่องการจัดการผลประโยชน์ภายในพรรค มากกว่าจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อ “คัดสรรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ” มาทำงานจริงๆ

สัมภาษณ์ 4 นักเขียนรุ่นใหม่ กับ ม.112

ถึงเวลาแล้วที่ (เรา) จะต้องออกมาพูดเรื่องนี้

สัมภาษณ์: ปาลิดา ประการโพธิ์
นับตั้งแต่ที่เหล่านักเขียนพร้อมใจกันลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทย เรื่อง ขอเชิญร่วมลงชื่อเรียกร้องแก้ไข ม.112” ก็มีกระแสตีกลับจากหลายฝ่ายทั้งในทางที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาไทจึงเข้าไปพูดคุยกับ 4 นักคิด-นักเขียน ประกอบไปด้วย วาด รวี ธิติ มีแต้ม ณรรธราวุธ เมืองสุข และหนึ่งนักเขียนที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม ดังนี้

0 0 0
วาด รวี
“จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องของนักเขียนโดยตรง เพราะว่าถ้าไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คนที่เดือดร้อนก่อนก็ต้องเป็นนักเขียน เพราะนักเขียนคืออาชีพที่แสดงความเห็นอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะงานวรรณกรรม บทความ การแสดงออกทางศิลปะ หรือทางวิชาการก็ตาม”
วาด รวี